ReadyPlanet.com
dot dot
ประเภทท่ารำ(Kata)

กติกา KATA


พื้นที่การแข่งขัน
     1.
พื้นที่การแข่งขันจะต้องเป็นพื้นที่เรียบร้อยเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
     2.
พื้นที่การแข่งขันควรมีขนาดเพียงพอเพื่อไม่ให้มีการรบกวนการแสดง KATA
คำอธิบายเพิ่มเติม
     -
เพื่อความเหมาะสมในการแสดง KATA พื้นที่ที่แข่งขันต้องเป็นพื้นที่เรียบมีผิดหน้าสม่ำเสมอ โดยทั่วไป สามารถใช้เบาะสำหรับแข่ง KUMITE ก็ได้

 

การแต่งกายของเจ้าหน้าที่
     1.
ผู้เข้าแข่งขันและกลุ่มกรรมการผู้ตัดสินจะต้องแต่งเครื่องแบบตามที่ระบุไว้ในหัวข้อที่ 2 ของกติกาของ KUMITE
     2.
ผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติตามกฎที่ระบุไว้อาจถูกขับไล่ออกจากการแข่งขันได้
คำอธิบายเพิ่มเติม
     -
ห้ามถอดเสื้อนอกคาราเต้ตลอดเวลาการแข่งขัน KATA
     -
ผู้แข่งขันที่แต่งตัวไม่ถูกกฎจะต้องทำการแต่งกายใหม่ให้เรียบร้อยภายในเวลา 1 นาที

 

การจัดการแข่งขัน KATA
     1.
การแข่งขัน KATA แบ่งออกเป็นประเภททีมและประเภทบุคคล โดยการแข่งขันประเภททีมจะมีสมาชิกใสทีมทั้งหมด 3 คนเป็นผู้หญิงล้วนหรือชายล้วน ส่วนการแข่งขันประเภทบุคคลจะแบ่งออกเป็นการแข่งขันประเภทบุคคลหญิงและบุคคลชาย
     2.
ระบบการคัดออกแบบการชิงตำแหน่งที่ 3 (REPRECHAGE) จะถูกนำมาใช้
     3.
ผู้แข่งขันต้องใช้ทั้งท่าบังคับ (SHITEI) และท่าอิสระ (TOKUI) โดยท่าที่ใช้ในการแข่ง KATA ซึ่งจะต้องได้รับการยอมรับจากสถานที่ฝึกคาราเต้-โด ที่ถูกยอมรับจากสหพันธ์คาราเต้แห่งโลก (WKF) ยึดตามระบบ GOJU, SHITO, SHOTO และ WADO ใน 2 รอบแรกจะไม่อนุญาตให้ใช้ท่าอื่นเลย ตารางท่าบังคับของท่า KATA จะอยู่ในภาพผนวกที่ 6 และรายการของ KATA ที่เป็นที่ยอมรับจะอยู่ในภาคผนวกที่ 7
     4.
ผู้แข่งขันที่แสดง SHITEI KATA ไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงท่าอื่นที่แตกต่าง
     5.
ในรอบต่อมาผู้แข่งขันสามารถเลือกท่าจากรายชื่อ TOKUI KATA ในภาคผนวกที่ 7 โดยสามารถนำท่าที่เรียนจากสถานฝึกของผู้แข่งขันมาใช้ได้
     6.
ท่าที่จะใช้ในการแข่งขันจะต้องเขียนถูกแจ้งไว้ที่โต๊ะคะแนนก่อนเริ่มการแข่งขัน
     7.
ผู้แข่งขันจะต้องแสดง KATA ที่ไม่เหมือนกันในแต่ละรอบ เมื่อแสดง KATA ใดไปแล้วห้ามแสดงซ้ำอีก
     8.
ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ผู้แข่งขันสามารถแสดง SHITEI หรือ TOKUI KATA ได้
     9.
ในรอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน KATA ประเภททีม ใน 2 ทีมที่เข้าแข่งจะแสดง KATA จากรายชื่อ TOKUI KATA ในภาคผนวกที่ 7 ตามปกติและต้องแสดงความหมายของท่า BUNKAI KATA ซึ่งมีความยาวไม่เกิน 5 นาที โดยผู้จับเวลาจะเริ่มจับเวลาเมื่อผู้แข่งขันทำความเคารพกรรมการในสนามก่อนเริ่มการแสดง และจะหยุดเวลาเมื่อผู้แข่งขันทำความเคารพกรรมการหลังแสดงเสร็จ หากแสดงเกิน 5 นาที จะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้ใช้อาวุธหรืออุปกรณ์ประกอบการแสดง
คำอธิบายเพิ่มเติม
     -
จำนวนและประเภทของ KATA ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้แข่งขันในประเภทบุคคลหรือทีม ตามที่ตารางระบุ การชนะโดยที่ไม่ต้องแข่ง (BYE) ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้แข่งขัน หรือจำนวนทีม

 

ผู้แข่งขันหรือทีม

จำนวนท่า KATA ที่ต้องแข่ง

TOKUI

SHITEI

65– 128

7

5

2

33 – 64

6

4

2

17 – 32

5

3

2

9 – 16

4

3

1

5 – 8

3

3

0

4

2

2

0

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการควบคุมการตัดสิน
     1.
คณะกรรมการผู้ช่วย (3-5 คน) ในแต่ละรอบการแข่งขัน จะถูกแต่งตั้งโดยคณะกรรมการควบคุมการตัดสิน (REFEREE COUNCIL) หรือกรรมการผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขัน (MATCH AREA CONTROLLER)
     2.
คณะกรรมการผู้ช่วยของการแข่งขัน KATA ต้องไม่มีสัญชาติเดียวกับผู้แข่ง
     3.
ผู้จับเวลา ผู้ควบคุมคะแนนและผู้ประกาศจะต้องมาจากการแต่งตั้ง
คำอธิบายเพิ่มเติม
     -
กรรมการผู้ชี้ขาดจะนั่งอยู่ตรงเส้นรอบนอกของเขตการแข่งขัน หันหน้าเข้าหาผู้แข่งขัน ส่วนกรรมการผู้ช่วยอีก 2 ท่านจะนั่งอยู่ที่ด้านซ้ายและด้านขวาของสนามแข่งขัน โดยวัดจากจุดศูนย์กลางไป 2 เมตร และหันหน้าเข้าหาทางเข้าของผู้แข่งขันทั้งคู่
     -
เพื่อความเสมอภาคในสัญชาติและสไตล์การเล่นของผู้แข่งขัน จะใช้กรรมการ 5 คน โดยกรรมการผู้ชี้ขาด จะนั่งหันหน้าเข้าหาผู้แข่งขัน ส่วนกรรมการผู้ช่วยทั้ง 4 จะนั่งที่มุมของสนาม
     -
กรรมการผู้ช่วยแต่ละคนจะมีธงแดงและน้ำเงิน หรืออุปกรณ์ในการให้คะแนนชนิดอื่น

 

หลักในการตัดสิน
     1.
การแสดง KATA จะต้องแสดงด้วยความสมบูรณ์ และต้องแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในความหมายของแต่ละท่าในการประเมินความสามารถของผู้แข่งขันกรรมการ โดยพิจารณาจาก
          A)
ท่าตามความเป็นจริงตามความหมายของ KATA
          B)
ความเข้าในในเทคนิคที่นำมาใช้ (BUNKAI)
          C)
ความเหมาะสมของเวลา, จังหวะ, ความเร็ว, การทรงตัว และการรวมพลัง (KIME)
          D)
ความถูกต้องและการใช้ลมหายใจอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยใน KIME
          E)
ความถูกต้องในการรวบรวมความตั้งใจ (CHAKUGAN) และสมาธิ
          F)
ความถูกต้องของท่ายืน (DACHI) ด้วยขาที่เกร็งอย่างเหมาะสมและเท้าแบนเรียบที่พื้น
          G)
ท้องที่เกร็งอย่างเหมาะสม (HARA) และไม่มีการกระดกขึ้นลงของสะโพกเวลาเคลื่อนตัว
          H)
รูปแบบที่ถูกต้อง (KIHON) ของท่าทางที่แสดง
            I)
การแสดงท่าทางจะถูกประเมินด้วยการวิเคราะห์จุดอื่น ๆ ด้วย เช่น ระดับความยากของท่า
           J)
ในการแข่งขัน KATA แบบทีมจะดูความกลมกลืนและพร้อมเพรียงกัน โดยไม่ใช้การบอกใบ้ จากการใช้ท่าทางภายนอกมาเป็น  ปัจจัยในการตัดสินด้วย
     2.
ผู้แข่งขันที่ใช้ท่าอื่นนอกเหนือจาก SHITE KATA ที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิ์
     3.
ผู้แข่งขันที่หยุดชะงักในระหว่างการแสดง SHITE KATA, TOKUI KATA หรือผู้ที่แสดง KATA นอกเหนือจากที่ได้ประกาศไว้หรือแจ้งที่โต๊ะคณะกรรมการ จะต้องถูกตัดสิทธิ์
     4.
ผู้แข่งขันที่แสดงท่า KATA ผิดหรือแสดงท่าซ้ำจะถูกตัดสิทธิ์
คำอธิบายเพิ่มเติม
     - KATA
ไม่ใช่การเต้นรำหรือการแสดงละคร ดังนั้นจะต้องยึดมั่นในคุณค่าและหลักการดั้งเดิมไว้ จะต้องจริงจังเหมือนในการต่อสู้จริง และแสดงสมาธิ, พลัง, และประสิทธิภาพของเทคนิค และจะต้องแสดงความแข็งแกร่ง, พลัง, และความเร็ว เช่นเดียวกับท่วงท่าลีลาที่สวยงาม, จังหวะ, และการทรงตัว
     -
ใน KATA แบบทีม ผู้ร่วมทีมทั้ง 3 คนจะต้องเริ่ม KATA โดยหันหน้าไปทางเดียวกันให้กรรมการผู้ชี้ขาด
     -
สมาชิกในทีมจะต้องแสดงท่าทางในหลักเกณฑ์ของการแสดง KATA โดยพร้อมเพรียงกัน
     -
คำสั่งให้เริ่มและหยุดการแสดง, การกระทืบเท้า, การตบอก แขน หรือเสื้อ, และการหายใจออกอย่างไม่เหมาะสม เป็นตัวอย่างการบอกใบ้จากภายนอก และจะนำมาพิจารณาในการตัดสินด้วย
     -
โค้ชหรือผู้เข้าแข่งขันต้องตรวจสอบชื่อท่าในการแข่งขันแต่ละรอบว่า ตรงกับที่แจ้งไว้ที่โต๊ะกรรมการหรือไม่

 

การดำเนินการแข่งขัน
     1.
เมื่อเริ่มการแข่งขันแต่ละครั้งในการตอบรับการขานเรียกชื่อผู้แข่งขัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งจะใส่สายสีแดง (AKA) และอีกฝ่ายใส่สายสีน้ำเงิน (AO) ทั้ง 2 ฝ่ายจะยืนที่เส้นประจำตำแหน่ง ณ เส้นสนามการแข่งขันและหันหน้าเข้าหากรรมการผู้ชี้ขาด หลังจากโค้งทำความเคารพให้กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินแล้วฝ่าย AO จะต้องก้าวออกจากสนามแข่งขัน หลังจากนั้นฝ่าย AKA จะเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน โดยย้ายกลับมาที่จุดเริ่มต้นและมีการประกาศชื่อที่จะแสดง KATA แล้วจึงเริ่มแสดง เมื่อการแสดงเสร็จสิ้นฝ่าย AKA จะออกจากสนามแข่งขันเพื่อให้ฝ่าย AO แสดง เมื่อฝ่าย AO แสดงเสร็จทั้งคู่ก็จะกลับเข้าไปในสนามแข่งขันอีกครั้งเพื่อรอผลการตัดสิน
     2.
ถ้าการแสดง KATA ไม่เป็นไปตามกฎหรือมีสิ่งผิดปกติอื่น ๆ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจเรียกกรรมการผู้ช่วยท่านอื่นมาเพื่อขอคำตัดสิน
     3.
ถ้ามีการตัดสิทธิ์ผู้แข่งกรรมการผู้ชี้ขาดจะไขว้ธงและแยกธง (เหมือน TORIMASEM ในการแข่งขันแบบ KUMITE)
     4.
หลังจากแสดง KATA เสร็จทั้งคู่ ผู้แข่งขันจะยืนคนข้างกันภายในพื้นที่แข่ง และกรรมการผู้ชี้ขาด จะขอคำตัดสินด้วยการประกาศ “HANTEI” และเป่านกหวีด 1 ครั้งและจะมีการยกธงขึ้น 3 ธงพร้อมกัน
     5.
การตัดสินจะเป็นฝ่ายแดง AKA หรือน้ำเงิน AO ไม่มีการเสมอ ผู้ที่ได้คะแนน 2 หรือ 3 เสียงจะเป็นฝ่ายชนะ และโฆษกจะประกาศชื่อผู้ชนะ
     6.
ผู้แข่งขันจะโค้งให้กัน จากนั้นจะโค้งให้กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินและออกจากสนามแข่งขัน
คำอธิบายเพิ่มเติม
     -
จุดเริ่มการแสดง KATA จะต้องอยู่ภายในเขตของพื้นที่สนามแข่งขัน
     -
กรรมการผู้ชี้ขาดจะเป่านกหวีด 2 ครั้ง เพื่อให้กรรมการผู้ช่วยยกธงให้คะแนน และเป่านกหวีดอีกครั้งเพื่อให้ลดธงลงหลังจากนับคะแนนแล้ว
     -
หากผู้แข่งขันแสดงท่าผิด หรือไม่สามารถลงแข่งได้ (KIKEN) อีกฝ่ายจะชนะทันที โดยไม่ต้องแข่งขัน

 

รายชื่อท่าบังคับ KATA
ตารางท่าบังคับ (W.K.F. COMPULSORY (SHITEI) KATA)
     GOJU SEIPAI
     SAIFA
     SHOTO JION
     KANKU DAI
     SHITO BASSAI DAI
     SEIENCHIN
     WADO SEISHAN
     CHINTO

 

 

รายชื่อท่า KATA ของสำนักต่าง ๆ ภายใต้ WKF
GOJU-RYU KATAS
     1. SANCHIN
     2. SAIFA
     3. SEIYUNCHIN
     4. SHISOCHIN
     5. SANSERU
     6. SEISAN
     7. SEPAI
     8. KURURUNFA
     9. SUPARIMPEI
     10. TENSHO
WADO-RYU KATAS
     1. KUSHANKU
     2. NAIHANCHI
     3. SEISHAN
     4. CHINTO
     5. PASSAI
      6. NISEISHI
      7. ROHAI
     8. WANSHU
     9. JION
     10. JITTE
SHOTOKAN KATAS
     1. BASSAI – DAI
     2. BASSAI – SHO
     3. KANKU – DAI
     5. TEKKI – NIDAN
     6. TEKKI – NIDAN
     7. TEKKI – SANDAN
     8. HANGETSU
     9. JITTE
     10. ENPI
     11. GANKAKU
     12. JION
     13. SOCHIN
     14. NIJUSHIHO SHO
     15. GOJU SHIHO – DAI
     16. GOJU SHIHO – SHO
     17. CHINTE
     18. UNSU
     19. MEIKYO
     20. WANKAN
     21. JIIN

SHITO-RYU KATAS
     1. JITTE
     2. JION
     3. JIIN
     4. MATSUKAZE
     5. WANSHU
     6. ROHAI
     7. BASSAI DAI
     8. BASSAI SHO
     9. TOMARI BASSAI
     10. MATSUMURA BASSAI
     11. KOSOKUN DAI
     12. KOSOKUN SHO
     13. KOSOKUN SHIHO
     14. CHINTO
     15. CHINTE
     16. SEIENCHIN
     17. SOCHIN
     18. NISEISHI
     19. GOJUSHIHO
     20. UNSHU
     21. SEISAN
     22. NIFANCHIN SHODAN
     23. NAIFANCHIN NIDAN
     24. NAIFANCHIN SANDAN
     25. AOYAGI (SEIRYU)
     26. JYUROKU
     27. NHIPAIPO
     28. SANCHIN
     29. TENSHO
     30. SEIPAI
     31. SANSEIRU
     32. SAIFA
     33. SHISOCHIN
     34. KURURUNFA
     35. SUPARIMPEI
     36. HAKUCHO
     37. PACHU
     38. HEIKU
     39. PAIKU
     40. ANNAN
     41. ANNANKO
     42. PAPUREN
     43. CHATANYARA KUSHANKU

 







dot
นานาสาระ
dot
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการฝึก
bulletเทคนิคคุมิเต้
bulletวิธีการผับชุด
dot
การฝึกซ้อมที่คิดส์ยิม
dot
bulletตารางการฝึกซ้อม
bulletวิธีการสมัคร
dot
My Karate
dot
bulletKata
bulletKihon
bulletMovement
bulletWarming Up
bulletStrengthing
dot
กฎ กติกา
dot
bulletประเภทต่อสู้ (Kumite)
bulletประเภทท่ารำ(Kata)
dot
กิจกรรมที่ผ่านมา
dot
bulletเข้าค่ายนครปฐม ปี 2549
bulletเข้าค่ายกาญจนบุรี ปี 2550
dot
Link เครือข่าย
dot
bulletการกีฬาแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมคาราเต้ โด
bulletMylife-Mykarate
bulletShotokan
bulletNinjutsu-thailand
bulletThaikarate-School
bulletThai Gojukai
bulletKarate hadyai
bulletthaikaratedo
bulletBangkokfight club
bulletGlobal Martialarts Center (GMAC)
dot
Karate Club in University
dot
bulletมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
bulletมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
bulletพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
bulletมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
bulletม.นเรศวร
dot
Link ต่างประเทศ
dot
bulletWKF
bulletAKF
bulletJKF
bulletIKGA
bulletJKA
dot
แบบฟอร์สมาคมกีฬาจังหวัด
dot
bulletใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
bulletแบบคำขอย้ายสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
bulletระเบียบการกีฬาแห่งประเทศไทย
dot
Newsletter

dot
bulletFAQ (Frequently Asked Questions)




Copyright © 2010 All Rights Reserved.