กติกา KUMITE
พื้นที่สนามแข่ง
1.สนามแข่งจะต้องเป็นพื้นที่เรียบเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
2.สนามแข่งจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดความกว้างและยาว8×8เมตรเมื่อวัดจากด้านนอกของเส้นสนามและมีพื้นที่ป้องกันอันตรายอีกด้านละ 2เมตร สนามแข่งอาจจะยกให้สูงจากพื้นราบได้ไม่เกิน 1 เมตร รวมแล้วสนามแข่งจะมีขนาดเท่ากับ 12×12เมตร เพื่อความปลอดภัยของผู้แข่งขัน
3.ตีเส้นตำแหน่งของกรรมการผู้ชี้ขาด(REFEREE)ยาว 0.5 เมตร ห่างจากจุดศูนย์กลางของสนามแข่ง 2เมตร
4.ตีเส้นขนานสองเส้นยาว 1 เมตร สำหรับตำแหน่งของผู้แข่งขันโดยเส้นทั้งสองอยู่ทางซ้ายและขวาจากจุดศูนย์กลางของพื้นที่แข่งขันเป็นระยะ 1.5 เมตร และทำมุมฉากกับเส้นตำแหน่งของกรรมการผู้ชี้ขาด
5.กรรมการผู้ช่วย(JUDGES)ทุกคน จะนั่งในพื้นที่ที่ปลอดภัย กรรมการผู้ช่วยคนหนึ่งจะหันเข้าหากรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วยอีกสองคน จะนั่งด้านหลังผู้แข่งขันแต่ละฝ่ายประมาณ 1เมตร หันไปทางกรรมการผู้ชี้ขาดโดยแต่ละคนจะมีธงสีแดงและน้ำเงิน
6.กรรมการเทคนิค(ARBITRATOR)จะนั่งอยู่ด้านหลังนอกพื้นที่ปลอดภัยเยื้องไปทางซ้ายของกรรมการผู้ชี้ขาด(REFEREE)โดยมีอุปกรณ์คือ ธงแดงหรือสัญลักษณ์และนกหวีด
7.หัวหน้าผู้ควบคุมเวลา(SCORESUPERVISOR)จะนั่งที่โต๊ะควบคุมคะแนนอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนน(SCOREKEEPER)และผู้รักษาเวลา(TIMEKEEPER) 8.พื้นที่ป้องกันอันตราย 1เมตร ที่อยู่ด้านนอกจะต้องมีสีแตกต่างจากสนามแข่ง
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ห้ามติดตั้งป้ายโฆษณา, เสา, หรือแผ่นระดาษภายในระยะ 1 เมตร ของสนามแข่ง
- เบาะที่ใช้ปูเป็นสนามแข่งขันจะต้องได้มาตรฐาน คือ ไม่ลื่น ด้านบนของเบาะต้องมีผิวฝืดเล็กน้อย เบาะต้องไม่หนาเกินไป ซึ่งจะไม่หนาเหมือนเบาะที่ใช้ในการแข่งขันยูโด และด้านล่างของเบาะต้องเกาะติดกับ พื้นเวที ต้องอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวไปมาจนเกิดช่วงโหว่ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้แข่งขันได้ และต้องเป็นแบบเดียวกับเบาะของ WKF
การแต่งกาย
1. ผู้แข่งขัน (CONTESTENTS) และ โค้ช (COACH) จะต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบที่ระบุไว้ในกติกานี้
2. คณะกรรมการควบคุมการตัดสิน (REFEREE COUNCIL) สามารถไล่เจ้าหน้าที่หรือผู้แข่งขันที่ไม่ปฏิบัติตามกฎที่ระบุไว้ได้
คณะกรรมการผู้ตัดสิน (Referees)
1. กรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วย ต้องใส่เครื่องแบบที่ผ่านการรับรองโดยคณะกรรมการควบคุมากรตัดสินทุกครั้งของการแข่งขัน
2. เครื่องแบบที่ผ่านการรับรองมีลักษณะดังนี้
- ใส่เสื้อนอกสีน้ำเงินเข้มและมีกระดุมสีเงิน 2 เม็ด
- ข้างในใส่เสื้อเชิ้ตสีขาวจะเป็นแขนสั้น
- ผูกเน็คไทที่รับรองและไม่ใช้หมุดปักเน็คไท
- นุ่งกางเกงขายาวสีเทาอ่อน ไม่พับขา
- ถุงเท้าสีน้ำเงินเข้มหรือสีดำไม่มีลาย และสวมรองเท้าสีดำแบบสวมที่ใช้ใส่สำหรับใส่บนสนามแข่ง
- กรรมการผู้ชี้ขาดหญิง หรือกรรมการผู้ช่วยหญิง อาจใส่ที่มัดผมได้
ผู้แข่งขัน
1. ผู้แข่งขันจะต้องใส่เสื้อคาราเต้ (KARATE GI) สีขาวไม่มีแถบหรือลวดลาย อนุญาตให้ติดสัญลักษณ์หรือธงชาติประจำชาติขนาดไม่เกิน 10 × 10 เซนติเมตร บนหน้าอกข้างซ้าย ตราสินค้าของบริษัทผู้ผลิตชุดต้องติดอยู่ในตำแหน่งที่กำหนด เช่น มุมขวาล่างของเสื้อคาราเต้หรือบริเวณช่วงเอวของกางเกง ส่วนหมายเลขประจำตัวของผู้แข่งขันที่กำหนดโดยคณะผู้จัดการแข่ง (DIRECTING COMMITTEE) จะต้องติดบนหลังเสื้อผู้แข่งขันทั้งสอง โดยต้องคาดสายคาดคนละสี ฝ่ายหนึ่งคาดสายคาดเอวสีแดง อีฝ่ายหนึ่งคาดสายคาดเอวสีน้ำเงิน โดยสายคาดเอวต้องมีความกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และเมื่อผูกปมแล้วจะต้องเหลือชายลงมาอีกประมาณ 15 เซนติเมตร
2. จากกฎข้อ 1 ป้ายโลโก้ของบริษัทผู้ผลิตผู้ผลิตชุดหรือสปอนเซอร์ที่ติดบนเสื้อผู้แข่งขันนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะผู้จัดการแข่งขันเสมอ
3. หลังจากที่ผู้แข่งขันสวมเสื้อนอกและคาดสายคาดเอวแล้ว ชายเสื้อจะต้องยาวปิดสะโพกพอดี และไม่ยาวเกินกว่า 3 ใน 4 ของต้นขาของผู้แข่งขัน ส่วนผู้แข่งขันหญิงก็สามรถใส่เสื้อยืดสีขาวข้างในได้
4. แขนเสื้อต้องยาวไม่เกินข้อมือ และไม่สั้นกว่ากลางแขน (ระหว่างข้อมือและข้อศอก) และห้ามพับแขนเสื้อ
5. กางเกงต้องมีความยาวพอที่จะคลุม 2 ใน 3 ของหน้าแข้งผู้แข่งขัน (ระหว่างหัวเข่าและข้อเท้า) และห้ามพับขากางเกง
6. ผู้แข่งขันและต้องรักษาความสะอาดของเส้นผมและตัดให้อยู่ในระดับที่ไม่เกะกะในการแข่งขัน และห้ามคาดผ้าคาด ศีรษะ(HACHIMAKI), ที่คาดผม ,หรือกิ๊บโลหะ แต่ในการแข่งขันแบบ KATA การติดกิ๊บให้เรียบร้อยสามารถอนุโลมได้ กรรมการผู้ชี้ขาด มีสิทธิที่จะไล่ผู้แข่งขันที่มีผมยาวเกินไป สกปรก และไม่เรียบร้อยออกจากการแข่งขันได้
7. ผู้แข่งขันต้องตัดเล็บให้สั้น ห้ามใส่เครื่องประดับโลหะ หรือเครื่องประดับอื่น ๆ ที่อาจทำฝ่ายตรงข้ามบาดเจ็บได้ การสวมที่รัดฟันโลหะจะต้องได้รับการอนุญาตจากกรรมการผู้ชี้ขาด และแพทย์ประจำสนามก่อนและผู้แข่งขันจะต้องรับผิดชอบเพียงผู้เดียวกรณีมีการบาดเจ็บเกิดขึ้น
8. ผู้แข่งขันต้องใส่นวมที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์คาราเต้-โด โลก (WKF) โดยฝ่ายหนึ่งใส่สีแดง และอีกฝ่ายหนึ่งใส่สีน้ำเงิน
9. บังคับให้ใส่ฟันยาง
10. อนุญาตให้สวมสนับเข่าแบบนุ่ม แต่ไม่อนุญาตให้ใส่สนับแข้ง/เครื่องป้องกันหลังเท้าแบบแข็ง
11. ห้ามสวมแว่นตาขณะแข่ง สามารถใส่คอนแทคเลนส์แบบอ่อนได้ แต่ถ้ามีการบาดเจ็บต้องอยู่ในความรับผิดชอบ ของผู้ใส่เอง
12. ผู้แข่งขันต้องแต่งกาย หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการตัดสินเท่านั้น ส่วนผู้แข่ง หญิง สามารถใส่อุปกรณ์ป้องกันอื่น ที่ผ่านการอนุมัติได้
13. อุปกรณ์ป้องกันทุกชนิดจะต้องได้มาตรฐานตามที่ WKF กำหนดไว้
14. การใช้ผ้าพันแผล, แผ่นปิดแผล, เนื่องจากการบาดเจ็บ จะต้องผ่านการอนุญาตจากกรรมการผู้ชี้ขาด ด้วยคำแนะนำของแพทย์ประจำสนาม
โค้ช (Coach)
1. โค้ชจะต้องใส่ชุดวอร์มและแสดงบัตรประจำตัวที่ออกให้สำหรับการแข่งขันตลอดเวลา
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ผู้แข่งขันจะต้องคาดสายคาดเอว (OBI) เพียงเส้นเดียวเท่านั้น คือสีแดงสำหรับ AKA หรือ สีน้ำเงินสำหรับ SHIRO (ห้ามคาดสายคาดเอวแสดงวิทยฐานะ)
- ฟันยางจะต้องพอดี ไม่อนุญาตให้ใส่กระจับพลาสติกบริเวณขาหนีบ ผู้แข่งขันที่ละเมิดกฎและถูกตรวจพบ จะต้องถูกลงโทษ
- การสวมใส่สิ่งอื่น ๆ อันเนื่องจากการนับถือหรือความเชื่อทางศาสนา เช่น ผ้าพันศีรษะขาวอิสลาม ผู้แข่งขันจะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการการควบคุมการตัดสินล่วงหน้าก่อนวันเริ่มการแข่งขัน เพื่อพิจารณาการอนุมัติเสมอผู้แข่งขันจะไม่ได้รับอนุมัติให้สวมใส่สิ่งดังกล่าวหากทำการแจ้งแบบกะทันหัน
- ถ้าผู้แข่งขันแต่งตัวไม่ถูกตามกฎ จะต้องทำการแต่งกายใหม่ให้เรียบร้อยโดยเร็ว ภายในเวลา 1 นาที มิเช่นนั้น จะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
- กรรมการผู้ชี้ขาดสามารถถอดเสื้อนอกออกได้ถ้าได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการตัดสิน
การจัดการแข่งขันคาราเต้
1. การแข่งขันคาราเต้อาจประกอบด้วยการแข่งขัน 2 ประเภทคือ การแข่งขันแบบ KUMITE และ/หรือ การแข่งขันแบบ KATA สำหรับการแข่งขันแบบ KUMITE สามารถแบ่งเป็นประเภททีมหรือประเภทบุคคล ซึ่งประเภทบุคคลอาจจำแนกตามพิกัดน้ำหนัก หรือเป็นการแข่งขันแบบไม่จำกัดน้ำหนักก็ได้ และในแต่ละพิกัดน้ำหนักก็จะแบ่งออกคู่
2. ผู้แข่งขันไม่สามารถเปลี่ยนตัวหรือแทนที่กันในการแข่งขันประเภทบุคคลได้
3. ผู้แข่งขันหรือทีมที่ไม่แสดงตนเมื่อถูกประกาศชื่อให้ถือว่า ผู้แข่งขันหรือทีมนั้นสละสิทธิ (KIKEN) จากการแข่งขัน
4. การแข่งขันประเภททีม ทีมชายประกอบด้วยสมาชิก 7 คน ลงแข่งเพียง 5 คนในแต่ละรอบ ทีมหญิงประกอบด้วยสมาชิก 4 คน ลงแข่งเพียง 3 คนในแต่ละรอบ
5. ผู้แข่งขันทุกคนคือสมาชิกทั้งหมดของทีมโดยไม่มีการกำหนดตัวสำรอง
6. ก่อนการแข่งขันประเภททีม ตัวแทนของแต่ละทีมจะต้องส่งรายชื่อสมาชิกในทีม พร้อมทั้งลำดับการต่อสู้ของ แต่ละคน ซึ่งในแต่ละรอบการแข่งขันนั้น ผู้แข่งขันสามารถเปลี่ยนลำดับการต่อสู้ได้ แต่หลังจากที่ได้รายงานและเสนอชื่อของการแข่งขันรอบนั้นต่อเจ้าหน้าที่แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนลำดับการต่อสู้อีก
7. ทีมใดที่เปลี่ยนลำดับหรือชื่อผู้เข้าแข่งโดยพลการ ไม่มีการเขียนยื่นคำร้องก่อนการแข่งขันรอบนั้น ทีมนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
คำอธิบาย
- หนึ่งรอบของการแข่ง คือขั้นของการแยกการแข่งประเภทหนึ่ง เพื่อให้ได้ผู้ชนะในการแข่งแบบคัดออก โดยหนึ่งรอบจะลดจำนวนผู้แข่งขันให้เหลือเพียงครึ่งเดียว ซึ่งจะนับรวมผู้ไม่เข้าแข่งด้วย (กรณีสละสิทธิ์การแข่ง) ในความหมายนี้จะใช้กับการแข่งแบบคัดออกรอบแรก (REPECHAGE) ส่วนในการแข่งแบบพบกันหมด (MATRIX OR ROBIN) หนึ่งรอบหมายถึงการที่ผู้แข่งทุกคนได้มีโอกาสสู้หนึ่งครั้ง
- การใช้ชื่อจริงของผู้แข่งขันอาจไม่สะดวกและเป็นอุปสรรคในการเรียกขาน ดังนั้นควรใช้หมายเลยประจำตัวแก่ผู้แข่งขัน เพื่อใช้แทนการเรียกชื่อนามสกุลจริงของผู้แข่งขัน
- เฉพาะผู้แข่งขันที่จะลงแข่งเท่านั้นที่จะมายืนเข้าแถวก่อนการแข่งขัน สมาชิกในทีมท่านอื่นรวมทั้งโค้ชจะต้องนั่งอยู่บริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น
- ทีมชายต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 3 คนและทีมหญิงต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 2 คน หากน้อยกว่าทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (KIKEN)
- โค้ชหรือผู้แข่งขันที่ได้รับการแต่งตั้งจากทีมจะต้องยื่นแบบฟอร์มลำดับของผู้แข่งขัน ถ้าโค้ชเป็นผู้ยื่นแบบฟอร์มจะต้องแสดงบัตรประจำตัวด้วยไม่เช่นนั้นแบบที่ยื่นจะถือเป็นโมฆะ ในแบบฟอร์มจะประกอบด้วยชื่อประเทศ หรือชื่อสโมสร สีของสายสำหรับการแข่งในรอบนั้น และลำดับการต่อสู้ของผู้แข่งขัน พร้อมชื่อของผู้แข่งขัน และหมายเลขประจำตัวผู้แข่งขันให้ชัดเจน พร้อมด้วยลายเซ็นของโค้ชหรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง
- ถ้าเกิดการผิดพลาดในตารางการแข่งหรือผู้แข่งลงแข่งผิดในรอบใดก็ตาม การแข่งขันในรอบนั้นถือเป็นโมฆะดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดดังกล่าวในแต่ละรอบ ผู้ชนะควรตรวจสอบชัยชนะที่โต๊ะควบคุมก่อนออกจากเวทีแข่งขัน
กลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน (REFEREE PANEL)
1. กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินในแต่ละการแข่งขันประกอบด้วย กรรมการผู้ชี้ขาด (SHUSHIN) 1 ท่าน, กรรมการผู้ช่วย (FUKUSHIN) 2 ท่าน และผู้ควบคุมการตัดสิน (KANSA) 1 ท่าน
2. กรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วยในการแข่งขัน KUMITE ต้องไม่มีสัญชาติเดียวกับผู้แข่งขัน
3. เพื่อการอำนวยความสะดวกในการแข่งขัน ผู้บันทึกคะแนน, โฆษก และผู้รักษาเวลาควรถูกแต่งตั้งขึ้น
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ในการเริ่มแข่ง KUMITE กรรมการผู้ชี้ขาดจะยืนเข้าแถวอยู่นอกสนามแข่งขัน โดยด้านซ้ายมือของกรรมการ ผู้ชี้ขาดจะมีกรรมการผู้ช่วยคนที่ 1 และคนที่ 2 อยู่ ส่วนด้านขวามือจะมีกรรมการเทคนิคและถัดไป ก็จะเป็นกรรมการผู้ช่วยคนที่ 3
- หลังจากที่กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินทั้งหมดและผู้แข่งขันโค้งทำความเคารพซึ่งกันและกัน กรรมการผู้ชี้ขาดจะถอยหลังออกมาหนึ่งก้าว ต่อจากนั้นกรรมการผู้ช่วยและกรรมการเทคนิคหันเข้ามาทางกรรมการผู้ชี้ขาด ทำความเคารพให้กัน เสร็จแล้วแยกย้ายไปประจำตำแหน่งของตนเอง
- กรณีที่มีการเปลี่ยนกลุ่มกรรมการผู้ตัดสินทั้งหมด กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินชุดเก่าจะก้าวเท้าไปข้างหน้าแล้ว กลับหลังหัน หันหน้ามายังกลุ่มกรรมการผู้ตัดสินชุดใหม่และโค้งให้กัน โดยการสั่งของกรรมการผู้ชี้ขาดคนใหม่ ก่อนที่กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินชุดเก่าจะเดินออกจากพื้นที่แข่งขันในทางเดียวกัน
- กรณีที่มีการเปลี่ยนตัวกรรมการผู้ช่วยเพียงคนเดียว กรรมการผู้ชวยคนใหม่เดินเข้ามาหากรรมการผู้ช่วยคนเก่าพร้อมกับโค้งกันก่อนทำการเปลี่ยนตำแหน่ง
เวลาในการแข่งขัน
1. ในการแข่ง KUMITE การแข่งขันของฝ่ายชายไม่ว่าจะเป็นการแข่งประเภททีมหรือบุคคลใช้เวลา 3 นาที ส่วนการแข่ง ของผู้หญิง, เด็ก, หรือผู้ฝึกใหม่ใช้เวลา 2 นาที
2. เวลาในการแข่งเริ่มต้นเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณเริ่มและการแข่งขันจบลงเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดสั่งว่า YAME (หยุด)
3. ผู้รักษาเวลาควรให้สัญญาณหรือกดออดทีเสียงดังชัดเจน เพื่อบอกว่าเหลือเวลา 30 วินาที และเมื่อหมดเวลาการแข่ง
หลักการตัดสิน
ผลการตัดสินของคู่แข่งขันนั้นจะได้ก็ต่อเมื่อผู้แข่งขันคนใดคนหนึ่งสามารถทำคะแนนห่างจากคู่ต่อสู้ถึง 8 คะแนน, เมื่อเวลาสิ้นสุดลงแล้วมีผู้ได้คะแนนสูงสุด, การขอคำตัดสิน (HANTEI), หรือจากโทษที่มีไม่ว่าจะเป็น HANSOKU, SHIKKAKU หรือ KIKEN
1. หลังจบการแข่งขันแล้วผู้แข่งขันมีคะแนนเท่ากันหรือไม่มีคะแนนทั้งคู่ กรรมการผู้ชี้ขาดจะตัดสินให้เสมอกัน (HIKIWAKE) หลังจากนั้นจะเริ่มการแข่งขันต่อเวลา (ENCHO-SEN)
2. ในการแข่งประเภทบุคคลหากมีคะแนนเท่ากันเมื่อสิ้นสุดการแข่งยกนั้น สามารถต่อเวลาการแข่ง (ENCHO-SEN) ไปได้อีกไม่เกิน 1 นาที ซึ่งการปรับโทษและการเตือนที่เกิดขึ้นในการแข่งขันในยกที่แล้วยังถือว่ามีผลอยู่ ผู้แข่งขันที่สามารถทำคะแนนแรกได้ก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ แต่หากไม่มีใครทำคะแนนได้ในช่วงเวลา กลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน (REFEREE PANEL) จะเป็นผู้ตัดสินขั้นสุดท้าย โดยการประกาศขอคำตัดสิน HANTEI และมีหลักการพิจารณาผู้แข่งขันดังต่อไปนี้
A) ทัศนคติ, จิตใจนักต่อสู้, การแสดงถึงพลังและความแข็งแกร่ง
B) ผู้ที่ใช้เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่เหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม
C) ผู้ที่ริเริ่มการจู่โจมที่มารกกว่า
3. ในการแข่งขันประเภททีม จะไม่มีการต่อเวลาการแข่งขัน (ENCHO-SEN) ในคู่ที่เสมอกัน ยกเว้นในกรณีข้อ 5
4. ทีมที่ชนะคือทีมที่มีจำนวนคนชนะมากกว่า หากมีจำนวนคนที่ชนะเท่ากัน ให้ทีมที่มีคะแนนรวมสูงกว่าเป็นทีมชนะการนับคะแนนต้องพิจารณาทั้งที่ได้และเสียคะแนนด้วย
5. หากทั้ง 2 ทีมมีคะแนนและจำนวนผู้ชนะเท่ากัน จะมีการต่อเวลาแข่งขันอีก 1 คู่ ไม่เกิน 1 นาที (ENCHO-SEN) ฝ่ายใดที่ทำคะแนนได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ ในกรณีที่ไม่มีฝ่ายใดทำคะแนนได้ กรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วย 3 คน จะเป็นผู้ตัดสิน
6. การแข่งขันประเภททีม หากทีมชายชนะนำห่างไปแล้ว 3 คู่ หรือ 2 คู่ ในกรณีทีมหญิงจะถูกประกาศให้ชนะในทันที
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ในกรณีที่จะมีการขอคำตัดสินกรรมการผู้ชี้ขาดจะออกไปนอกพื้นที่แข่งและประกาศ HANTEI ตามด้วยการเป่านกหวีด 2 ระดับเสียง กรรมการผู้ช่วยจะใช้ธงเป็นสัญลักษณ์เลือกให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะ หลังจากนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดจะยกแขนด้านที่อยู่ข้างผู้ชนะ จากนั้นเป่านกหวีดสั้น ๆ ให้กรรมการผู้ช่วยยกธงลง และกลับไปยังตำแหน่งเดิมเพื่อประกาศผู้ชนะ
- ในกรณีที่มีการเสมอ กรรมการผู้ชี้ขาดประกาศว่า HIKIWAKE(เสมอ) โดยกรรมการผู้ชี้ขาดจะกลับเข้าประจำตำแหน่งเดิมวางแขนข้างหนึ่งบนหน้าอก เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นความเห็นของตนเองที่จะตัดสิน แล้วจึงยกแขนไปยังด้านที่เห็นว่าควรเป็นผู้ชนะ หลังจากนั้นจึงประกาศผู้ชนะตามวิธีปกติ
พฤติกรรมต้องห้าม
พฤติกรรมต้องห้ามแบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 (CATEGORY 1)
1. การจู่โจมซึ่งมีการสัมผัสรุ่นแรงเกินไป และการจู่โจมที่สัมผัสบริเวณคอหอยคู่ต่อสู้
2. การจู่โจมที่ แขน, ขา, ขาหนีบ, ข้อต่อ, หลังเท้า
3. การจู่โจมที่ ใบหน้า โดยใช้เทคนิค แบมือ
4. การทุ่มที่อันตรายและถูกห้ามซึ่งอาจทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็
ประเภทที่ 2 (CATEGORY 2)
1. เสแสร้งการบาดเจ็บ, แสดงการบาดเจ็บเกินความจริง
2. ออกนอกบริเวณพื้นที่ แข่งขัน (JOGAI) บ่อยครั้งเกินไป
3. ต่อสู้โดยขาดการระมัดระวัง หรือขาดการป้องกันตนเองซึ่งอาจนำไปถึงอันตรายต่อตนเองได้ (MUBOBI)
4. หลีกเลี่ยงการต่อสู้ เพื่อมิให้คู่ต่อสู้มีโอกาสทำคะแนน
5. การหน่วงเหนี่ยว, หารปล้ำ, การผลัก, การจัดยึด โดยไม่มีความพยายามที่จะใช้การจู่โจมตามมา
6. การใช้เทคนิคจู่โจมที่ไม่สามารถควบคุมความปลอดภัย หรืออันตรายให้แก่คู่ต่อสู้ ไม่ว่าจะจู่โจมถูกเป้าหมายหรือไม่
7. การจู่โจมโดยใช้ศีรษะ, หัวเข่า, และข้อศอก
8. ใช้คำพูดยั่วยุคู่ต่อสู้, ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการผู้ชี้ขาด, ไม่สุภาพต่อกรรมการอื่น, หรือการไร้มารยาทอื่น ๆ
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ในการแข่งขันคาราเต้เพื่อการกีฬา ห้ามนำการจู่โจมซึ่งอันตรายมาใช้ และเทคนิคทั้งหมดจะต้องมีการควบคุมบางส่วน ของร่างกาย ให้สามารถรับแรงกระแทกได้ดีพอสมควร เช่น หน้าท้อง แต่บริเวณ ศีรษะ, ใบหน้า, ลำคอ, ขาหนีบ, และข้อต่อที่ยังอ่อนไหว ฉะนั้นการจู่โจมที่ตั้งใจซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บอาจถูกปรับโทษ ยกเว้นเกิดขึ้นจากผู้ถูกกระทำเอง ผู้แข่งขันต้องจู่โจมด้วยการควบคุมที่ดี และท่าทางที่ดี มิฉะนั้นอาจถูกปรับโทษได้
การสัมผัสบริเวณใบหน้า (Senior และ Junior)
- การจู่โจมด้วยการสัมผัสเบา ๆณบริเวณใบหน้า, ศีรษะ, ลำคอ อนุญาตได้ (แต่ห้ามทำที่คอหอย) หากกรรมการผู้ชี้ขาดเห็นวาการสัมผัสรุนแรงไป แต่ไม่ถึงขันที่ปิดโอกาสให้ผู้ถูกกระทำยังสามารถชนะได้ กรรมการผู้ชี้ขาดจะให้คำเตือน (CHUKOKU) หากเหตุการณ์เดิมเกิดขึ้นอีกจะถูกปรับโทษทันที (KEIKOKU) และ IPPON (1 คะแนน) จะถูกให้แก่ผู้ถูกกระทำ หากเหตุการณ์เดิมเกิดขึ้นอีก เป็นหนที่ 3 จะถูกปรับโทษ (HANSOKU CHUI) และ NIHON (2 คะแนน) จะถูกให้ผู้ถูกกระทำ และหากยังเกิดขึ้นอีก จะถูกปรับแพ้ทันที (HANSOKU)
การสัมผัสบริเวณใบหน้า (Cadet) ผู้ฝึกใหม่
- สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกฝนคาราเต้ การจู่โจมที่ใบหน้า, ศีรษะ, และลำคอจะต้องมีการควบคุมอย่างดี หากนวมสัมผัสเป้า จะไม่ได้คะแนนจากกลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน สำหรับการเตะที่ศีรษะ, ใบหน้า, ลำคอ นั้น สามารถสัมผัสผิวหนังได้อย่างแผ่วเบาเท่านั้น ในกรณีที่ทางเทคนิคเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการสัมผัสด้วยนวมกับผิวหนังรุนแรงกว่าปกติ กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินอาจจะทำการตักเตือนหรือลงโทษ ส่วนเทคนิคอื่นที่ใบหน้า, ศีรษะ, หรือคอซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บไม่สำคัญว่าจะถูกเบาเพียงใด จะถูกตักเตือนลงโทษยกเว้นการสัมผัสเหล่านั้นเกิดจากฝ่ายตรงข้ามเอง
- กรรมการผู้ชี้ขาดต้องหมั่นสังเกตและตรวจสอบผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ การตรวจสอบที่ล่าช้าอาจทำให้เกิดเลือดกำเดาไหลได้ การตรวจสอบยังสามารถบ่งบอกถึงเจตนาของผู้แข่งขันว่าต้องการย้ำจุดบาดเจ็บ เพื่อประโยชน์ในการแข่งขันหรือไม่ เช่น ชกจมูกที่บาดเจ็บแล้วอย่างรุนแรง หรือถูกใบหน้าคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
- การบาดเจ็บที่มีอยู่แล้วนั้นอาจบิดเบือนความรุนแรงของการสัมผัสได้ ฉะนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดต้องคำนึงถึงข้อนี้ด้วยถ้าจะปรับโทษผู้แข่งขัน เช่น การสัมผัสที่ไม่รุนแรงอาจทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถแข่งขันต่อ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสะสมมาจากการต่อสู้ยกก่อน ๆ และก่อนการแข่งทุกครั้งผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขัน (MACH AREA CONTROLLERS) ต้องตรวจสอบใบรายงานแพทย์และรับรองว่าผู้แข่งขันว่าสามารถลงแข่งขันได้ กรรมการผู้ชี้ขาดต้องได้รับรายงาน หากผู้แข่งขันได้รับการปฐมพยาบาลมาก่อนหน้านี้
- ผู้แข่งขันที่แสดงอาการบาดเจ็บเกินกว่าเหตุเพื่อต้องการได้รับคะแนนจากโทษปรับ เช่น การเอามือกุมหน้าเดินโซเซ หรือ ล้มโดยไม่จำเป็น นั้นอาจถูกเตือนหรือ ถูกปรับโทษทันที
- การแกล้งทำว่าบาดเจ็บทั้งที่ไม่มีอะไรเป็นเหตุมาก่อน ซึ่งถือว่าเป็นการผิดระเบียบอย่างรุนแรงนั้น ผู้แข่งขันจะถูกประกาศว่า SHIKKAKU (ให้ออกจากการแข่ง) ตัวอย่างเช่นการล้มลงหรือกลิ้งไปมาบนพื้นที่แข่งโดยไม่มีหลักฐานชัดเจนสนับสนุนจากแพทย์สนาม ส่วนการทำให้การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นดูเกินเลยความเป็นจริงนั้นได้รับการเตือนหรือปรับโทษ
- ผู้แข่งขันที่ถูกประกาศว่า SHIKKAKU จากการแกล้งบาดเจ็บ จะต้องออกจากสนามแข่งทันที และถูกส่งตัวให้คณะกรรมการแพทย์สนามของ WKF ตรวจวินิจฉัยผู้แข่งขันก่อนการชิงชนะเลิศจะจบลง ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้คณะกรรมการตัดสินพิจารณาหากพบว่าผู้แข่งขันแกล้งบาดเจ็บจริงจะถูกปรับโทษสถานหนักที่สุดอาจถึงขั้นห้ามเข้าร่วมการแข่งขันอีกตลอดชีพหากมีการแกล้งบาดเจ็บซ้ำอีกในอนาคต
- คอเป็นส่วนที่เปราะบางที่สุดแม้โดนกระทบเพียงเล็กน้อยก็จะต้องถูกเตือนหรือถูกปรับโทษ ยกเว้นกรณีที่ผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำเอง
- เทคนิคการทุ่มแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ท่าสามัญทั่วไป (CONVENTIONAL) ใช้เทคนิคกวาดขาแบบคาราเต้ เช่น DE ASHI BARI, KO UCHI GARE ฯลฯ โดยคู่ต่อสู้จะโดนกวาดขาให้เสียการทรงตัว หรือโดนทุ่มโดยไม่มีการการจับถูกตัวก่อน และการทุ่มที่กำหนดว่าจะต้องรัดหรือโอบกอดคู่ต่อสู้เวลาทุ่มซึ่งการทุ่มแบบนี้จะทำได้ ก็ต่อเมื่อมีการใช้เทคนิคการเข้าจู่โจมแบบคาราเต้จริง ๆ ก่อน หรือเป็นการตอบโต้การจู่โจมและพยายามทุ่มหรือจับตัวและแกนการหมุนของการทุ่มต้องไม่อยู่เหนือระดับสะโพก และต้องจับตัวคู่ต่อสู้ไว้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยสำหรับการทุ่มเหนือไหล่ เช่น SEIO NAGE, KATA GARUMA ฯลฯ นั้นห้ามกระทำ เช่นเดียวกับ การทุ่มแบบสังเวย (SACRIFICE) เช่น TOMEO NAGE, SUMI GAESHI ฯลฯ ถ้าคู่ต่อสู้บาดเจ็บจาสดเทคนิคการทุ่ม กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินจะเป็นผู้ตัดสินว่าควรมีการปรับโทษหรือไม่
- ห้ามใช้การจู่โจมด้วยเทคนิคแบบ แบมือ ไปยังบริเวณใบหน้าของคู่ต่อสู้ เนื่องจากอันตรายต่อการมองเห็น
- JOGAI (ออกนอกสนาม) คือสถานการณ์ซึ่งเท้าหรือส่วนอื่นของผู้แข่งขันสัมผัสส่วนนอกของพื้นที่แข่งขัน ยกเว้นกรณีที่ผู้แข่งขัน ถูกผลักหรือถูกทุ่มออกจากพื้นที่แข่งขันโดยผู้แข่งขันอีกฝ่ายหนึ่ง
- ถ้าผู้แข่งขันที่ทำคะแนนได้สำเร็จ ออกนอกพื้นที่ก่อนกรรมการสั่ง YAME(หยุด) จะได้คะแนนและไม่ถูกปรับโทษออกนอกสนาม (JOGAI)
- การออกนอกพื้นที่แข่งขันไม่ควรถูกปรับโทษ ถ้า AO (ฝ่ายน้ำเงิน) ออกนอกพื้นที่แข่งขันทันที หลังจาด AKA (ฝ่ายแดง) จู่โจมทำคะแนนสำเร็จ และการสั่ง YAME เกิดขึ้น ณ ช่วงทำคะแนนทันที แต่หาก AO นอกพื้นที่การแข่งขัน ขณะที่ AKA ทำคะแนนได้ (โดยที่ AKA ยังอยู่ในพื้นที่แข่งขัน) AKA จะได้คะแนน และ AO จะถูกปรับโทษออกนอกสนาม (JOGAI)
- ผู้แข่งที่ถอยอย่างเดียวโดยไม่พยายามสู้กลับ กอดโดยไม่จำเป็นหรือจงใจออกนอกสนาม นั้นเป็นการไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้จู่โจมทำคะแนน จะต้องถูกเตือนหรือปรับโทษ เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อเวลาของยกการแข่งขันใกล้สิ้นสุดลง หากการกระทำดังกล่าวมาเบื้องต้น เกิดขึ้นก่อนหมดเวลาการแข่งขันเกิน 10 วินาที กรรมการผู้ชี้ขาดจะเตือนผู้กระทำผิด ถ้าหากมีการกระทำผิดตามพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2 มาก่อนผู้กระทำผิดจะได้รับการปรับโทษครั้งต่อไปตามขั้นการปรับโทษ อย่างไรก็ตาม หากเหลือเวลาการแข่งขันน้อยกว่า 10 วินาที กรรมการผู้ชี้ขาดจะลงโทษผู้กระทำผิดด้วย KEIKOKU (ไม่ว่าจะถูกลงโทษด้วย CHOKOKU มารก่อนหรือไม่) ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะได้ 1 คะแนน
- หากเคยถูกลงโทษด้วย KEIKOKU มาแล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดจะลงโทษด้วย HANSOKU CHUI ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะได้ 2 คะแนน อย่างไรก็ตามกรรมการผู้ชี้ขาดต้องมั่นใจว่าการล่าถอยของผู้แข่งขันนั้นมิได้เกิดขึ้นจากการถูกคู่ต่อสู้จู่โจมแบบไม่มีการควบคุมหรือการจู่โจมที่อันตราย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นผู้จู่โจมจะถูกเตือนหรือปรับโทษได้ ตัวอย่างหนึ่งของ MUBOBI เกิดขึ้นทันทีที่ผู้แข่งขันจู่โจมคู่ต่อสู้ โดยมิได้ระวังความปลอดภัยของตนเอง เช่นผู้แข่งขันบางคน จู่โจมโดย REVERSE PUNCH ระยะยาว และไม่สามาระป้องกันการจู่โจมกลับของคู่ต่อสู้ การจู่โจมแบบเปิดหน้าเช่นนี้คือ MUBOBI และจะไม่ได้คะแนน นอกจากนั้นผู้แข่งขันบางคนยังใช้เทคนิค การแสดงความโอ้อวดโดยการหันหลังให้คู่ต่อสู้ทันทีหลังจากทำการจู่โจม บางทีมีการลดแขนป้องกันลง และ ละเลยการระวังคู่ต่อสู้ ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดความสนใจของกรรมการผู้ชี้ขาดต่อการจู่โจมที่ได้กระทำไป การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็น MUBOBI อย่างชัดเจน และหากผู้กระทำ MUBOBI เอง ได้รับบาดเจ็บให้ถือว่าเป็นความผิดของผู้กระทำ MUBOBI เองและกรรมการผู้ชี้ขาดสามารถปฏิเสธการปรับโทษคู่ต่อสู้ได้
- การประพฤติอย่างไร้มารยาทจากสมาชิกของกลุ่มตัวแทนอย่างเป็นทางการ (OFFICIAL DELEGATES) สามารถนำไปสู่ การตัดสิทธิแข่งขันของผู้แข่งขัน, หรือทีมแข่งขัน, หรือตัวแทนให้ออกจากการแข่งขัน
การลงโทษ
CHUKOKU (การเตือน) กรรมการจะเตือนผู้แข่งในกรณีที่เป็นความผิดพลาดครั้งแรกและผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
KEIKOKU การลงโทษโดยฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน IPPON (1 คะแนน) และเป็นการตักเตือนสำหรับความผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งกรรมการได้ทำการว่ากล่าวตักเตือนไปแล้ว ในยกแข่งขันนี้หรือกรณีที่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่รุนแรงพอที่จะสั่งลงโทษ HANSOKU CHUI ได้
HANSOKU-CHUI การลงโทษโดยที่ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน NIHON (2 คะแนน) และมักเกิดเมื่อกรรมการได้กล่าวตักเตือนและลงโทษแบบ KEIKOKU ไปแล้วในการแข่งที่ผ่านมาหรือ สามารถใช้ปรับโทษดังกล่าว โดยขั้นการกระทำผิดรุนแรงแต่ไม่ถึงขั้น HANSOKU
HANSOKU การลงโทษในความผิดที่รุนแรงมากาหรือเมื่อมีการลงโทษ HANSOKU-CHUI มาก่อนซึ่งมีผลให้ผู้แข่งขันถูกตัดสิทธิการแข่งขันทันที ในกรณีแข่งขันประเภททีม ผู้แข่งขันที่บาดเจ็บจะได้เพิ่ม 8 คะแนน ขณะที่คะแนนของฝ่ายตรงข้ามจะถูกปรับเป็น 0
SHIKKAKU การลงโทษโดยการตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันตลอดรายการ หรือแค่การแข่งประเภทนั้น หรือคณะกรรมการตัดสินจะต้องร่วมปรึกษาและกำหนดของเขตของ SHIKKAKU การลงโทษ SHIKKAKU ซึ่งมักใช้ลงโทษกรณีผู้แข่งขันมุ่งร้าย, ไม่เชื่อฟัง กรรมการผู้ชี้ขาด หรือละเมิดกฎการแข่งและทำให้เสียเกียรติของกีฬาคาราเต้ หากเป็น การแข่งประเภททีม ถ้าสมาชิกของทีมได้รับ SHIKKAKU คู่ต่อสู้จะได้รับคะแนน 8 คะแนน ขณะที่คะแนนของฝ่ายตรงข้ามจะถูกปรับเป็น 0
คำอธิบายเพิ่มเติม
- การกระทำความผิดตามพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 และประเภท 2 นั้นไม่สามารถสะสมข้ามประเภทได้
- การปรับโทษสามารถให้ได้เมื่อมีการกระทำผิดกฎ แต่เมื่อปรับโทษแล้วหากมีการกระทำความผิดในประเภทเดิมซ้ำอีก จะต้องปรับโทษรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยและจะไม่มีการเตือน หรือลงโทษสำหรับการสัมผัสที่รุนแรงเกินเหตุอันสมควรแล้วหลังจากนั้นยังมีการเตือนอีก ถ้ามีการสัมผัสรุนแรงเป็นครั้งที่ 2
- CHUKOKU เกิดขึ้นเมื่อเห็นได้ว่ามีการละเมิดกฎเพียงเล็กน้อย แต่ความสามารถของผู้แข่งที่จะชนะการแข่งขัน ไม่ลดน้อยลงจากความผิดของฝ่ายตรงข้าม (ในความเห็นของกลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน)
- KEIKOKU อาจให้โดยตรงได้ทันทีไม่ต้องมีการให้การเตือนก่อนซึ่งการให้ KEIKOKU นั้น กลุ่มกรรมการ ผู้ตัดสินเห็นว่าผู้แข่งขันที่ถูกละเมิดกฎนั้นมีแนวโน้มที่จะสามารถชนะชนะการแข่งขันนั้นน้อยลง
- HANSOKU CHUI อาจใช้ปรับโดยตรงได้ทันทีหรือใช้หลังจากการเตือนแล้ว หรือหลังจาก KEIKOKU ทั้งนี้ในสายตาของกลุ่มกรรมการผู้ตัดสินผู้แข่งที่ถูกละเมิดกฎมีแนวโน้มน้อยมากที่จะสามารถชนะการแข่งขันได้
- HANSOKU อาจใช้ปรับโทษโดยตรงในกรณีมีการละเมิดกฎอย่างรุนแรง หรือจากการเพิ่มโทษทีละขั้นขึ้นมาก็ได้ซึ่งจะถูกใช้เมื่อกลุ่มกรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า โอกาสที่ผู้แข่งขันที่ถูกละเมิดกฎจะชนะการแข่งขันนั้นเป็นศูนย์ไปแล้ว
- ผู้แข่งที่ได้รับโทษ HANSOKU จากการก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือในกรณีที่กลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน และผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขัน (MATCH AREA CONTROLLERS) เห็นว่าผู้แข่งขันท่านนั้นได้กระทำการที่เสี่ยง เป็นอันตรายหรือไม่สามารถควบคุมการจู่โจมตามข้อกำหนดการแข่งของ WKF ได้นั้น จะถูกทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการตัดสิน เพื่อพิจารณาว่าผู้แข่งขันดังกล่าวควรถูกตัดสิทธิจากการแข่งขันทันทีและ/หรือตัดสิทธิในการแข่งตลอดรายการ
- SHIKKAKU สามารถนำมาปรับโทษกับผู้แข่งขันโดยตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการให้การเตือนก่อนซึ่งอาจเกิดขึ้น จากการที่ผู้ฝึกสอนหรือเพื่อนร่วมทีมของผู้แข่งขันนั้น ๆ ประพฤติตนในทางที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติยศของกีฬาคาราเต้ หรืออาจเกิดจากการที่กรรมการผู้ชี้ขาดเชื่อมั่นว่าผู้แข่งขันดังกล่าวมีพฤติกรรมมุ่งร้ายหรือประสงค์ร้ายโดยไม่จำเป็นที่การบาดเจ็บจะต้องเกิดขึ้นจริง หากเป็นเช่นนี้การปรับโทษ SHIKKAKU เป็นโทษที่สมควร กว่า HANSOKU
- โทษ SHIKKAKU ต้องถูกประกาศต่อหน้า สาธารณชน
การได้รับบาดเจ็บและอุบัติเหตุในการแข่งขัน
1. KIKEN คือ การที่ผู้แข่งขันไม่ปรากฏตัวเมื่อถูกเรียกลงแข่งขัน, ไม่สามารถลงแข่งต่อได้, การละทิ้งการแข่งขันเนื่องจากการบาดเจ็บของผู้แข่งขันซึ่งมิได้เกิดจากการกระทำของฝ่ายตรงข้าม, หรือถูกถอนชื่อออกจากการแข่ง โดยการตัดสินของกรรมการตัดสินชี้ขาด
2. กรณีที่ผู้แข่งขันทั้งสองคนได้รับการบาดเจ็บในเวลาเดียวกัน หรือเป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้วและได้รับการตัดสินยืนยันจากแพทย์สนาม ส่งผลให้ผู้แข่งขันทั้งสองไม่สามารถทำการแข่งขันต่อไปได้ผู้แข่งขันที่ทำคะแนน ได้สูงที่สุดขณะนั้นก็จะเป็นผู้ชนะโดยปริยาย แต่ในกรณีที่ผู้แข่งขันทังสองมีคะแนนเท่ากัน การตัดสินผู้แพ้หรือ ชนะจะขึ้นอยู่กับการประกาศขอคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาด ในกรณีประเภททีม ต้องแข่งขันต่อเวลาก่อน (ENCHO-SEN) หากยังไม่สามารถหาผู้ชนะได้ จึงจะขอคำตัดสินจากกรรมการผู้ชี้ขาด
3. กรณีที่ผู้แข่งได้รับบาดเจ็บมากและแพทย์สนามตัดสินใจให้เลิกการแข่งขัน ผู้แข่งดังกล่าวก็ไม่สามารถลงแข่งได้อีกในเกมการแข่งขันนัดนั้น
4. ผู้แข่งที่ได้รับชัยชนะจากการบาดเจ็บในการแข่งขันใดก็ตาม จะไม่สามารถทำการแข่งขันได้อีก นอกจากได้รับการยินยอมจากแพทย์สนาม แต่ถ้าผู้แข่งขันดังกล่าวลงแข่งขันและได้รับชัยชนะเนื่องจากการบาดเจ็บอีกเป็นครั้งที่สองผู้แข่งขันดังกล่าวจะถูกถอนชื่อออกจากการแข่งขันคุมิเตะ และไม่สามารถลงแข่งขันได้อีกในการแข่งขันนัดนั้น
5. เมื่อผู้แข่งท่านใดได้รับบาดเจ็บ กรรมการผู้ชี้ขาดจะต้องให้สัญญาณหยุดการแข่งขันทันที เพื่อทำการเรียกแพทย์สนามมาตรวจสอบ วินิจฉัย และให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้แข่งขันดังกล่าว
6. ผู้แข่งที่ได้รับบาดเจ็บขณะแข่งขันอยู่และมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการปฐมพยาบาล สามารถขอเวลา 3 นาทีเพื่อทำการปฐมพยาบาลได้ หากไม่สามารถปฐมพยาบาลให้เสร็จภายใน 3 นาที กรรมการผู้ชี้ขาดต้องตัดสินว่า ผู้แข่งขันดังกล่าวควรถูกประกาศว่าไม่พร้อมเข้าแข่งขันต่อ (ตามหัวข้อ 13 ข้อ 9D) หรือขยายเวลาปฐมพยาบาลออกไป
7. ผู้แข่งคนใดที่ล้มหรือถูกทุ่มและไม่สามารถยืนทรงตัวได้ภายใน 10 วินาที ถือว่ามีสภาพไม่เหมาะสมที่จะแข่งต่อไปและจะถูกถอดชื่อจากการแข่งคุมิเตะทั้งหมดในการแข่งขันนัดดังกล่าว กรณีผู้แข่งคนใดล้มหรือถูกทุ่มและไม่สามารถยืนขึ้นทันที กรรมการผู้ชี้ขาดจะส่งสัญญาณให้ผู้รักษาเริ่มจับเวลาโดยการเป่านกหวีด 1 ครั้ง เพื่อเริ่มการนับถอยหลัง 10 วินาที ขณะเดียวกันหากจำเป็นก็จะเรียกแพทย์สนามเข้ามาปฐมพยาบาล และผู้รักษาเวลา จะหยุดนาฬิกาเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณหยุดโดยยกแขนขึ้น
คำอธิบายเพิ่มเติม
- เมื่อแพทย์สนามประกาศว่าผู้แข่งไม่เหมาะสมที่จะแข่งขันต่อไป จะต้องมีการบันทึกบนบัตรตรวจสอบผู้แข่งขัน (MONITORING CARD) ส่วนระดับขันของความไม่พร้อมของผู้แข่งต้องถูกแสดงอย่างชัดเจนต่อกลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน
- ผู้แข่งอาจชนะจากการที่คู่ต่อสู้ถูกตัดสิทธิ์แข่งขันเพราะมี โทษปรับสะสมแบบไม่รุนแรงของพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 ซึ่งผู้ชนะอาจไม่ได้รับบาดเจ็บมากมาย แต่หากว่าในรอบต่อต่อไปผู้ชนะคนเดิมได้รับชัยชนะจากการที่คู่ต่อสู้ถูกตัดสิทธิแข่งจากโทษปรับ โดยการใช้พฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 ซ้ำอีกรอบ ก็จะทำให้ผู้ชนะ ดังกล่าวถูกถอดถอนออกจากการแข่งขันในนัดดังกล่าว แม้ว่าผู้ชนะนั้นจะสามารถทำการแข่งขันต่อได้ก็ตาม
- กรรมการผู้ชี้ขาดควรเรียกแพทย์สนามเมื่อผู้แข่งขันได้รับบาดเจ็บและต้องการการปฐมพยาบาลเท่านั้น
- จะมีเพียงแพทย์สนามเท่านั้นที่จะทำการรับรองความปลอดภัยในการแข่งขันต่อของผู้แข่งขัน เนื่องจากแพทย์สนามเป็นผู้ที่จะบริหารทางการแพทย์ให้กับการแข่งขันโดยเฉพาะ
- สำหรับการใช้กฎ 10 วินาที (TEN SECOND RULE) ผู้รักษาเวลาสำหรับกฎ 10 วินาที ควรจะถูกแต่งตั้งเป็นพิเศษโดยจะมีสัญญาณเตือนที่ 7 วินาทีและจะให้สัญญาณอีกทีที่ 10 วินาที ผู้รักษาเวลาจะเริ่มจับเวลาเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณเริ่ม และจะหยุดเมื่อผู้แข่งยืนตรงแล้วกรรมการผู้ชี้ขาดยกมือขึ้น
- กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินจะทำการตัดสินผู้ชนะบนพื้นฐานของ KIKEN, HANSOKU หรือ SHIKKAKU
- ในการแข่งขันประเภททีม หากสมาชิกคนใดในทีมได้รับ KIKEN คะแนนของผู้นั้นจะถูกปรับเป็น 0 ส่วนฝ่ายตรงข้ามจะได้รับเพิ่ม 8 คะแนน
การคัดค้านผลการตัดสิน
1. ไม่อนุญาตให้ประท้วงผลการตัดสิต่อกลุ่มกรรมการตัดสินในขณะที่กำลังทำหน้าที่ตัดสินอยู่
2. หากขั้นตอนการปฏิบัติงานของกรรมการผู้ชี้ขาดขัดกับกฎระเบียบ ผู้ที่มีสิทธิ์คัดค้าน คือประธานของสหพันธ์/สโมสร/ชมรม/ทีมนั้น ๆ หรือผู้แทนอย่างเป็นทางการของทีมเท่านั้น
3. การคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับผลการตัดสิน สามารถทำได้โดยการเขียนรายงานทันทีหลังการแข่งขันสิ้นสุดลง (ยกเว้นการคัดค้านที่เกี่ยวกับความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่บริหารจัดการแข่งขัน โดยให้แจ้งต่อผู้ควบคุมพื้นที่การแข่ง เพื่อทำการแก้ไขได้ทันท่วงที)
4. ผู้คัดค้านสามารถเสนอรายงานต่อตัวแทนของคณะอุทธรณ์ (APPEALS JURY) จากนั้นคณะอุทธรณ์พิจารณาจากสภาพแวดล้อมและข้อมูลที่มีอยู่ รายงานผลการตัดสินจะถูกจัดทำขึ้นและถูกประกาศเพื่อบังคับใช้ตามที่คณะอุทธรณ์ลงมติ
5. การประท้วงหรือคัดค้านใดอันเนื่องมาจากการใช้กฎกติกาการแข่งขันนั้น ตัวแทนอย่างเป็นทางการของทีม หรือผู้แข่งขันจะต้องนำเสนอรายงานตามขั้นตอนที่กรรมการกลางแห่งสหพันธ์คาราเต้โลก (WKF-DC) กำหนดพร้อมทั้งให้ตัวแทนอย่างเป็นทางการของทีมหรือผู้แข่งขันเซ็นชื่อปิดท้าย
6. ผู้ที่ทำการคัดค้านจะต้องจ่ายเงินสำหรับค่าคัดค้านจำนวนหนึ่งตามที่ WKF-DC เห็นสมควร และเอกสารการคัดค้านนั้นจะถูกส่งให้ตัวแทนคณะอุทธรณ์
7. คณะอุทธรณ์ประกอบด้วยตัวแทน 1 ท่านจากคณะกรรมการควบคุมการตัดสิน (REFEREE COUNCIL) คณะกรรมการเทคนิค (TECHNICAL COMMITTEE) และคณะกรรมการแพทย์สนาม (MEDIAL COMMITTEE)
คำอธิบายเพิ่มเติม
- ในการคัดค้านนั้นจะต้องเสนอชื่อผู้แข่งขัน, กลุ่มกรรมการผู้ตัดสินที่ทำการตัดสิน และรายละเอียดของการคัดค้านแต่ผู้คัดค้านไม่สามารถฟ้องร้อง หรือคัดค้านเกี่ยวกับมาตรฐานการตัดสินโดยทั่วไป หน้าที่ในการพิสูจน์ความจริงของการคัดค้านขึ้นอยู่กับผู้ร้องทุกข์
- การคัดค้านจะถูกพิจารณาโดยคณะอุทธรณ์จะศึกษาจากหลักฐานที่ส่งมากับคำคัดค้าน คณะอุทธรณ์อาจใช้เทปบันทึกภาพ (VIDEO TAPE) และสอบถามเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบอย่างเป็นกลางว่าให้รับคำคัดค้านหรือไม่
- ในกรณีที่คณะอุทธรณ์เห็นด้วยกับการคัดค้าน จะดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป และจะมีมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันมิให้เกิดซ้ำอีกในการแข่งในอนาคต สำหรับเงินมัดจำที่ได้ชำระไว้นั้นจะถูกคืนกลับโดยฝ่ายการเงิน
- กรณีที่คณะอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับการคัดค้าน การคัดค้านนั้นจะถูกปฏิเสธและเงินมัดจำที่ชำระไว้นั้น จะถูกยึดโดย W.K.F.
- เพื่อให้มั่นใจว่าการแข่งขันจะดำเนินต่อไปได้โดยไม่มีการชะลอเวลาแข่ง จะเป็นหน้าที่ของกรรมการเทคนิคที่จะดูแล ให้การแข่งยังคงเป็นไปตามกฎการแข่งขัน
- กรณีที่มีการผิดพลาดเกิดขึ้นมาจากฝ่ายบริหารจัดการแข่งขันเกิดขึ้น โค้ชควรแจ้งโดยตรงต่อผู้ควบคุมพื้นที่ การแข่ง เพื่อนำแจ้งกรรมการผู้ชี้ขาดต่อไป
อำนาจหน้าที่
1. ตรวจสอบความถูกต้องในการจัดเตรียมการของทุกการแข่งขัน โดยปรึกษาร่วมกับคณะผู้จัดการแข่งเกี่ยวกับ การจัดการพื้นที่แข่งขัน, การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ , การบริหารจัดการการแข่งขัน, และการฝ้าระวังรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
2. กำหนดและแต่งตั้งกรรมการผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขัน (MATCH AREA CONTROLLER) /หัวหน้ากรรมการ ตามความเหมาะสมเพื่อดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่แข่งขัน พร้อมทั้งสำรวจข้อบกพร่อง รวมทั้งให้รายละเอียดต่าง ๆ หรือดำเนินการทั้งนี้ อาจจะให้กรรมการควบคุมพื้นที่แข่งขันทำรายงานส่งด้วย
3. ควบคุมและประสานงานทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการต่าง ๆ
4. จัดหาเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ในกรณีที่จำเป็น
5. สอบสวนและยื่นเรื่องเพื่อพิจารณาการตัดสินในเนื้อหาของการตัดสินอย่างเป็นทางการ มีอำนาจตัดสินเด็ดขาด กับปัญหาด้านเทคนิคที่เกิดขึ้นในการแข่งขันและมิได้มีการระบุไว้ในกฎกติกาการแข่งขัน
MATCH AREA CONTROLLER (กรรมการควบคุมพื้นที่แข่งขัน)
1. บริหาร, แต่งตั้ง, และแบ่งงานกรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วย ในขอบเขตภายใต้การควบคุมดูแลของกรรมการควบคุมพื้นที่แข่งขัน
2. ดูแลประสิทธิภาพการทำงานของกรรมการผู้ชี้ขาด และกรรมการผู้ช่วยว่าปฏิบัติหน้าที่สมบูรณ์ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายไว้หรือไม่
3. สั่งให้กรรมการผู้ชี้ขาดระงับการแข่งขันเมื่อกรรมการเทคนิคให้สัญญาณว่ามีการขัดแย้งกับกฎของการแข่งขัน
4. รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบประจำวัน พร้อมทั้งเสนอให้ความคิดเห็น (ถ้ามี) เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการผู้ตัดสิน
REFEREES (กรรมการผู้ชี้ขาด)
1. กรรมการชี้ขาด (SHUSHIN) มีอำนาจในการควบคุมการแข่งขัน (ตั้งแต่การประกาศเริ่มการแข่งขัน, การสั่งพักการแข่งขัน, และประกาศการสิ้นสุดการแข่งขัน)
2. ให้คะแนน
3. ให้คำอธิบายรายละเอียดแก่กรรมการควบคุมพื้นที่แข่งขันและคณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน หรือคณะอุทธรณ์ถ้าจำเป็นเกี่ยวกับบรรทัดฐานการให้คะแนน
4. การให้คำตักเตือนและบทลงโทษแก่ผู้แข่งขันก่อน, ระหว่าง, และหลังการแข่งขัน
5. รับพิจารณาความคิดเป็นของกรรมการผู้ช่วย
6. ประกาศการต่อเวลาการแข่งขัน
7. ดำเนินการขอคำตัดสิน (HANTEI) ของกลุ่มกรรมการผู้ตัดสิน และประกาศผล
8. ประกาศผู้ชนะ
9. กรรมการผู้ชี้ขาดไม่ได้มีอำนาจควบคุมดูแลเฉพาะพื้นที่การแข่งขัน หากมีอำนาจในการควบคุมดูแลพื้นที่ข้างเคียงด้วย
10. กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ให้สัญญาณและประกาศการให้คำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งผลการตัดสิน
JUDGES (กรรมการผู้ช่วย : FUKUSHIN)
อำนาจกรรมการผู้ช่วยมีดังนี้
1. ช่วยกรรมการผู้ชี้ขาดโดยใช้สัญญาณธง
2. ลงคะแนนให้ความคิดเห็นในกรณีที่ต้องการการตัดสิน
กรรมการผู้ช่วยจะสังเกตการณ์การแข่งขัน อย่างละเอียดและส่งสัญญาณให้กรรมการผู้ชี้ขาด ในกรณีดังต่อไปนี้
A) เมื่อผู้แข่งขันได้คะแนน
B) เมื่อผู้แข่งขันละเมิดกติกาและ/หรือใช้เทคนิคที่ผิดในการต่อสู้
C) เมื่อผู้แข่งขันได้รับบาดเจ็บหรือป่วย
D) เมื่อผู้แข่งขันคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองออกนอกบริเวณพื้นที่แข่งขัน (JOGAI)
E) ในกรณีอื่น ๆ ที่กรรมการผู้ช่วยเห็นว่าสมควรรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
ARBITRATOR (กรรมการเทคนิค : KANSA)
ช่วยกรรมการผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขันโดยตรวจตราการแข่งขันและยกที่การแข่งขันดำเนินอยู่ หากว่าการตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดและ/หรือกรรมการผู้ช่วยไม่เป็นไปตามกฎของการแข่งขัน กรรมการเทคนิคจะยกสัญญาณธงสีแดงหรือกดออดทันที กรรมการผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขันจะสั่งให้กรรมการผู้ชี้ขาดระงับการแข่งขันหรือยกของการแข่งขันและแก้ไขข้อผิดพลาด บันทึกของการแข่งขันที่จะเก็บไว้เป็นหลักฐานอย่างเป็นทางการต้องได้รับการรับรองโดยกรรมการเทคนิค
SCORE SUPERVISORS (หัวหน้าผู้ควบคุมคะแนน)
จะทำการเก็บบันทึกคะแนนที่ให้โดยกรรมการผู้ชี้ขาด และยังทำหน้าที่ตรวจตราการทำงานของผู้รักษาเวลา และบันทึกคะแนน
คำอธิบายเพิ่มเติม
- เมื่อกลุ่มกรรมการผู้ช่วยทั้ง 3 ท่านให้สัญญาณเหมือนกันหรือทำให้รู้ว่าได้ให้คะแนนแก่ผู้แข่งคนเดียวกันกรรมการผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันและกระทำตามเสียงส่วนใหญ่ หากว่ากรรมการผู้ชี้ขาดไม่ระงับการแข่งขันทันที กรรมการเทคนิคจะยกสัญญาณธงสีแดง หรือกดออด
- เมื่อกรรมการผู้ช่วย 2 ท่าน ให้สัญญาณเหมือนกันหรือทำให้รู้ว่าได้ให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันคนเดียวกัน กรรมการผู้ชี้ขาดจะพิจารณาความเห็นของกรรมการผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน แต่อาจปฏิเสธที่จะระงับการแข่งขันถ้าไม่เห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าว
- อย่างไรก็ตามเมื่อมีการหยุดการแข่งขัน และกรรมการผู้ชี้ขาดมีความเห็นขัดแย้งการให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่กรรมการผู้ชี้ขาดอาจขอให้กรรมการผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน พิจารณาความคิดเห็นอีกครั้ง แต่กรรมการผู้ชี้ขาด ไม่สามารถตัดสินขัดกับคำตัดสินของกรรมการผู้ช่วยทั้ง 2 ท่าน ยกเว้นจะได้รับการสนับสนุนจากกรรมการผู้ช่วยท่านที่ 3
- เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดเห็นว่ามีการทำคะแนนเกิดขึ้น จะสั่ง YAME และยกแขนไปทางฝั่งที่ได้คะแนน
- หากคำตัดสินของกรรมการไม่เป็นเอกฉันท์ กรรมการผู้ชี้ขาดจะต้องแสดงสัญญาณเพื่ออธิบายว่า ทำไมจึงให้หรือไม่ให้คะแนนแก่ผู้แข่งขัน
- กรรมการผู้ชี้ขาดอาจขอให้กรรมการผู้ช่วยไตร่ตรองคำตัดสินอีกครั้ง หากเชื่อว่าคำตัดสินนั้นผิดหรือละเมิดกฎ
- เมื่อกรรมการผู้ช่วยทั้ง 3 ท่านมีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน กรรมการผู้ชี้ขาดอาจให้คำตัดสิน แต่ต้องได้รับการสนับสนุนโดยกรรมการผู้ช่วย 1 ท่านก่อน
- ในกรณี HANTEI กรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วยแต่ละท่านจะมีสิทธิออกเสียง 1 เสียง และในกรณีที่ต่อเวลาแล้วยังมีการเสมออีก กรรมการผู้ชี้ขาดถึงจะใช้สิทธิออกเสียงชี้ขาด
- กรรมการผู้ช่วยจะให้คะแนนได้ต่อเมื่อเห็นการกระทำอย่างชัดเจน หากไม่มั่นใจว่าผู้แข่งขันได้จู่โจมถึงพื้นที่ ที่ได้คะแนนจริง กรรมการผู้ช่วยตัดสินควรให้สัญญาณว่าไม่เห็น (MIENAI)
- บทบาทของกรรมการเทคนิค คือต้องทำให้มั่นใจว่าการแข่งขันหรือยกแข่งขันจะต้องถูกดำเนินไปตามกฎของการแข่งขัน กรรมการเทคนิคมิใช่กรรมการตัดสินอีกท่าน กรรมการเทคนิคไม่มีสิทธิลงคะแนนออกเสียงตัดสิน เช่น จะให้คะแนนหรือไม่ หรือว่า JOGAI ได้เกิดขึ้นหรือไม่ หน้าที่หลักของกรรมการเทคนิค จะเกี่ยวกับเรื่องของขั้นตอนต่าง ๆ เท่านั้น
- ในกรณีที่กรรมการผู้ชี้ขาดไม่ได้ยินเสียงระฆังหมดเวลา หัวหน้าผู้ควบคุมคะแนน (SCORE SUPERVISOR) จะเป่านกหวีด
- เมื่อต้องมีการอธิบายบรรทัดฐานการให้คะแนนของคณะกรรมการผู้ชี้ขาดหลังการแข่งขัน จะต้องพูดให้กรรมการผู้ควบคุมพื้นที่แข่งขัน หรือคณะกรรมการควบคุมการตัดสิน หรือคณะอุทธรณ์ฟังเท่านั้น และไม่พูดให้ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องฟังเด็ดขาด
การเริ่ม การหยุดพัก และการสิ้นสุดการแข่งขัน
1. การใช้คำพูดและสัญญาณของกรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วยจะแสดงไว้ในภาคผนวกที่ 1 และ 2
2. กรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วยจะเข้าประจำตำแหน่งที่กำหนดไว้ และตามด้วยการโค้งคำนับแลกเปลี่ยนแก่กันของผู้แข่งขัน จากนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศว่า SHOBU HAJIME เพื่อเริ่มการแข่งขัน
3. กรรมการผู้ชี้ขาดสามารถหยุดการแข่งขันโดยประกาศว่า YAME และถ้าจำเป็นกรรมการผู้ชี้ขาดจะสั่งให้ผู้แข่งขันทั้งสองกลับเข้าประจำตำแหน่งเดิม (MOTO NO ICHI)
4. เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดกลับเข้าไปยืนที่ตำแหน่งของตน กรรมการผู้ช่วยจะให้ความเห็นโดยการใช้สัญญาณธง ถ้ามีการให้คะแนน กรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศผลการตัดสินโดยใช้สัญญาณมือ บ่งบอกฝ่ายที่ได้คะแนน (AKA หรือ AO) ตำแหน่งที่ถูกจู่โจม (CHUDAN หรือ JODAN) เทคนิคที่ทำให้ได้คะแนน (TSUKI, UCHI หรือ KERI) แล้วกรรมการผู้ชี้ขาดจะให้คะแนน โดยใช้ท่าทางตามที่ได้อธิบายไว้ หลังจากนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดสามารถเริ่มการแข่งขันอีกครั้งโดยประกาศว่า TSUZUKETE HAJIMEI
5. เมื่อผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่งได้คะแนนนำคู่แข่งเกิน 8 แต้มในรอบนั้น กรรมการผู้ชี้ขาด จะประกาศว่า YAME เพื่อให้ผู้แข่งขันทั้งสอง กลับไปประจำตำแหน่งเริ่มต้น หลังจากนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศผู้ชนะ โดยการยกมือทางด้านผู้ชนะขึ้นและประกาศว่า AO (AKA) NO KACHI แล้วการแข่งขันก็จะสิ้นสุดลง
6. เมื่อเวลาการแข่งขันได้สิ้นสุดลง ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนมากกว่าจะถูกประกาศว่าเป็นผู้ชนะ กรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศ โดยยกมือทางด้านผู้ชนะขึ้นและประกาศว่า AO (AKA) NO KACHI แล้วการแข่งขันก็จะสิ้นสุดลง
7. เมื่อเวลาการแข่งขันได้สิ้นสุดลง แต่คะแนนของผู้แข่งขันทั้งสองเสมอกัน หรือไม่มีใครได้คะแนน กรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศ YAME เพื่อให้ทุกคนกลับไปประจำตำแหน่งเริ่มต้น พร้อมประกาศผลการแข่งขันว่า เสมอ HIKIWAKE แล้วต่อเวลาการแข่งขัน ENCHO-SEN
8. กรรมการผู้ช่วยและกรรมการผู้ชี้ขาดมีคนละ 1 เสียงในการ HANTEI ยกเว้นถ้ายังตัดสินผลไม่ได้หลัง ENCHO-SEN แล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ตัดสินเพียงคนเดียวเพื่อเป็นการยุติการแข่งขันที่อาจจะเสมอกันอีก
9. กรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศ YAME หยุดการแข่งขันชั่วคราวเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้เกิดขึ้น
A) เมื่อผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่ง หรือทั้งคู่ออกนอกพื้นที่แข่งขัน
B) เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดาต้องการสั่งให้ผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่งจัดชุดแข่ง หรืออุปกรณ์ในการป้องกันตัวให้เรียบร้อย
C) เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดเห็นว่าผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่งได้กระทำผิดกติกาการแข่งขัน
D) เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดเห็นว่าผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่งหรือทั้งคู่ ไม่สามารถที่จะทำการแข่งขัน ต่อไปได้เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ, ป่วย, หรือด้วยสาเหตุอื่น หลังจากถามความเห็นจากแพทย์สนามกรรมการผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ตัดสินว่าผู้แข่งขันดังกล่าวสามารถทำการแข่งขันต่อไปได้หรือไม่
E) เมื่อผู้แข่งเข้าจับคู่ต่อสู้แต่ไม่ได้ใช้เทคนิคอื่นเพื่อทำการต่อสู้ จู่โจมหรือทุ่มภายใน 2-3 วินาที
F) เมื่อผู้แข่งขันท่านใดท่านหนึ่งหรือทั้งคู่ถูกทุ่มหรือล้มลงและไม่มีการใช้เทคนิคการต่อสู้ ภายใน 2-3 วินาที
G) เมื่อเท้าของผู้แข่งขันทั้งคู่ไม่แตะพื้นจากการล้มลงหรือพยายามทุ่มและเริ่มมีการปลุกปล้ำกัน
H) เมื่อมีการทำคะแนน
I) เมื่อกรรมการผู้ช่วย 3 ท่านให้สัญญาณเหมือนกัน หรือให้คะแนนผู้แข่งขันฝ่ายเดียวกัน
J) เมื่อมีการขอร้องโดยผู้ควบคุมพื้นที่การแข่งขัน
คำอธิบายเพิ่มเติม
- เมื่อเริ่มการแข่งขัน กรรมการผู้ชี้ขาดจะเรียกผู้แข่งขันทั้งสองเข้าประจำตำแหน่งเริ่มต้น ถ้าผู้แข่งขันเข้ามา ภายในพื้นที่แข่งขันก่อนเวลาเริ่ม จะถูกเชิญให้ออกนอกพื้นที่ ผู้แข่งขันจะโค้งให้กันและกันเพื่อแสดงความเคารพ (การผงกหัวนิดหน่อย ๆ เป็นการไม่สุภาพและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง) กรรมการผู้ชี้ขาด สามารถเรียกให้ผู้แข่งขัน ทั้งสองแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน โดยการใช้สัญญาณมือดังที่แสดงในภาคผนวกที่ 2 เมื่อไม่มีการเคารพกัน
- ก่อนที่กรรมการผู้ชี้ขาดประกาศเริ่มการแข่งขันใหม่อีกครั้ง กรรมการผู้ชี้ขาดต้องตรวจดูว่าผู้แข่งขันทั้งสองกลับไปประจำตำแหน่งที่เส้นของตนเรียบร้อยหรือไม่, ผู้แข่งขันที่เคลื่อนไหวไปมาจะต้องถูกสั่งให้อยู่นิ่ง ๆ และอยู่ในท่าพร้อมที่จะทำการแข่งขันใหม่ โดยกรรมการผู้ชี้ขาดจะพยายามเริ่มการแข่งขันโดยเร็ว เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเสียเวลาในการแข่งขันให้น้อยที่สุด
ภาคผนวก
คำจำกัดความ
SHOBU HAJIME เริ่มการแข่งขัน หลังจากประกาศแล้ว กรรมการผู้ชี้ขาดก้าวไปด้านหลัง
ATOSHI BARAKU มีเวลาเหลือเพียงเล็กน้อย ผู้รักษาเวลาให้สัญญาณ 30 วินาที ก่อนหมดเวลาการแข่งขันและกรรมการผู้ชี้ขาดจะประกาศ ATOSHI BARAKU
YAME หยุด เมื่อต้องการขัดจังหวะชั่วคราวหรือการสิ้นสุดการแข่งขัน โดยกรรมการผู้ชี้ขาด ประกาศ YAME พร้อมฟาดแขนข้างหนึ่ง จากระดับบนลงมา
MOTO NO ICHI กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ผู้แข่งขันทั้งสอง, กรรมการผู้ชี้ขาด, และกรรมการผู้ช่วย กลับเข้าสู่ตำแหน่งประจำของตน
TSUZUKETE สู้ต่อไป กรรมการผู้ชี้ขาดสั่งหลังจากที่การแข่งขันมีการหยุดโดยที่กรรมการผู้ชี้ขาดไม่ได้สั่งให้หยุด ให้สู่ต่อไป
TSUZUKETE HAJIME สู้ต่อได้ เริ่ม กรรมการผู้ชี้ขาดยืนในท่าที่ขาข้างหนึ่งก้าวมาด้านหน้า (ZENKUTSU DACHI) ขณะที่พูด TSUZUKETE จะเหยียดแขนและฝ่ามือออกไปด้านนอกไปยังผู้แข่งขัน และพูดตามด้วย HAJIME พร้อมวาดฝ่ามือเข้าหากันอย่างรวดเร็ว พร้อมก้าวถอยหลังในเวลาเดียวกัน
SHUGO เรียกกรรมการผู้ช่วย กรรมการผู้ชี้ขาดเรียกกรรมการผู้ช่วย หลังจบการแข่งครั้งนั้นหรือรอบนั้น, หรือเมื่อต้องการการรับรองเพื่อให้ผู้แข่งออกจากการแข่งขัน (SHIKKAKU)
HANTEI การตัดสิน หากไม่สามารถตัดสินผลหลังจากต่อเวลาการแข่งขัน (ENCHO-SEN) กรรมการผู้ชี้ขาดเรียกขอคำตัดสินจากกรรมการผู้ช่วยโดยการเป่านกหวีดและกรรมการผู้ช่วยจะยกธงว่า ผู้แข่งขันฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายได้คะแนน พร้อม ๆ กับกรรมการผู้ชี้ขาดให้คะแนนด้วยการยกมือ
HIKIWAKE เสมอ ในกรณีมีการตัดสินให้เสมอกัน หลังการประกาศขอคำตัดสิน (HANTEI) กรรมการผู้ชี้ขาดจะเอาแขนไขว้กันบริเวณหน้าอก และวาดแขนเฉียงลงมาออกไปบริเวณข้างลำตัวโดยหงายเอาฝ่ามือออกด้านนอก
TORIMASEN ไม่สามารถให้คะแนนได้ คล้าย ๆ กับ HIKIWAKE แต่กรรมการผู้ชี้ขาดจะคว่ำมือลง
ENCHO-SEN ต่อเวลาการแข่งขัน กรรมการผู้ชี้ขาดประกาศเริ่มการแข่งขันใหม่อีกครั้งด้วยการสั่งว่า SHOBU HAJIME
AIUCHI การทำคะแนนได้ในเวลาเดียวกัน ไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนดังกล่าว กรรมการผู้ชี้ขาดจะกำหมัดเข้าหากันบริเวณหน้าอก
AKA(AO) NO KACHI ฝ่ายแดง (ฝ่ายน้ำเงิน) ชนะ กรรมการผู้ชี้ขาดวาดแขนเฉียงจากลำตัวไปยังด้านของผู้แข่งขันที่ได้รับชัยชนะ
AKA(AO) SANBON ฝ่ายแดง (ฝ่ายน้ำเงิน) ได้ 3 คะแนน กรรมการผู้ชี้ขาดยกแขนข้างที่อยู่ด้านผู้ที่ทำคะแนนได้ โยให้แขนอยู่สูงกว่าระดับไหล่ 45 องศา
AKA(AO) NIHON ฝ่ายแดง (ฝ่ายน้ำเงิน) ได้ 2 คะแนน กรรมการผู้ชี้ขาดยกแขนข้างที่อยู่ด้านผู้ที่ทำคะแนนได้ โดยให้แขนอยู่พอดีกับระดับไหล่
AKA(AO) IPPON ฝ่ายแดง (ฝ่ายน้ำเงิน) ได้ 1 คะแนน กรรมการผู้ชี้ขาดยกแขนข้างที่อยู่ด้านผู้ทำคะแนนได้โดยให้แขนอยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ 45 องศา
CHUKOKU การเตือนเนื่องจากการละเมิดประเภท 1 หรือ 2 โดยไม่มีการลงโทษ ละเมิดประเภท 1 กรรมการผู้ชี้ขาดหันไปทางผู้แข่งขันที่ละเมิดกฎและไขว้แขนทั้ง 2 ข้างระดับหน้าอก ส่วนการละเมิดประเภทที่ 2 กรรมการผู้ชี้ขาดใช้นิ้วชี้ (งอแขน) ชี้ไปยังใบหน้าของผู้แข่งขันที่ละเมิดกฎ
KEIKIKU การเตือนแล้วตามด้วยบทลงโทษ IPPON (1 คะแนน) กรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญลักษณ์ว่าละเมิดกฎประเภท 1 หรือ 2 โดยการใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังผู้แข่งที่ละเมิดกฎทำมุมทะแยงประมาณ 45 องศา สูงกว่าระดับไหล่และให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
HANSOKU-CHUI การเตือนแล้วตามด้วยบทลงโทษ NIHON (2 คะแนน) กรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณว่าละเมิดกฎประเภท 1 หรือ 2 โดยการชี้ไปที่ผู้แข่งขันที่ละเมิดกฎ ในแนวที่ขนานกับพื้นและให้คะแนนฝ่ายตรงข้ามคู่ต่อสู้ 2 คะแนน
HANSOKU ถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน กรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญลักษณ์ว่าละเมิดกฎประเภท 1 หรือ 2 ใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังผู้แข่งที่ละเมิดกฎทำมุมทแยงประมาณ 45 องศา สูงกว่าระดับไหล่และประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
JOGAI ออกนอกพื้นที่แข่งขัน กรรมการผู้ชี้ขาดใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังด้านผู้ออกนอกพื้นที่เพื่อประกาศว่าผู้แข่งขันคนนี้ได้ออกนอกพื้นที่แข่งขัน
SHIKKAKU การตัดสิทธิออกจากการแข่งขัน กรรมการผูชี้ขาดใช้นิ้วชี้ชี้ไปที่ผู้ที่ละเมิดกฎทำมุม 45 องศาสูงกว่าระดับไหล่ แล้วชี้เฉียงวาดไปทางด้านหลังของกรรมการผู้ชี้ขาด พร้อมประกาศว่า AKA(AO) SHIKKAKU และประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
KIKEN ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งได้ กรรมการผู้ชี้ขาดใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังเส้นเริ่มการแข่งขันด้านของผู้แข่งขันที่โดยให้แขนทำมุม 45 องศา
MUBOBI การเตือนเนื่องจากไม่ระวังต่อความปลอดภัยในการแข่งทำให้ตัวเองเสี่ยงกับอันตราย กรรมการผู้ชี้ขาดใช้มือแตะใบหน้าตนเองและหันสันมือออกด้านนอก ขยับมือออกและเข้า เพื่อให้กรรมการผู้ช่วย รับทราบว่าผู้แข่งขันคนนั้นไม่ระมัดระวังความปลอดภัยต่อตนเอง
ท่าสัญญาณและสัญญาณธงของกรรมการผู้ชี้ขาดและกรรมการผู้ช่วย
คำประกาศและท่าสัญญาณของกรรมการผู้ชี้ขาด
SHOMEN-NI-REI
กรรมการผู้ชี้ขาดยื่นฝ่ามือไปด้านหน้า
OTAGAT-NI-REI เคารพกันและกัน
กรรมการผู้ชี้ขาดให้สัญญาณให้ผู้แข่งขันโค้งคำนับให้แก่กัน
SHOBU HAJIME เริ่มการแข่งขัน
หลังประกาศกรรมการผู้ชี้ขาดก้าวถอยหลัง
TSUZUKETE HAJIME การต่อสู้พร้อมเริ่ม
กรรมการพูด TSUZUKETE และยืนก้าวเท้าไปข้างหน้า พร้อมกับยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยฝ่ามือหันหน้าเข้าหา ผู้แข่งขันทั้งสองและเมื่อกรรมการพูดต่อไปว่า HAJIME ก็จะพลิกมือกลับ พร้อมกับกวาดมือมาตรงกลางพร้อมกับก้าวไปข้างหลัง
YAME หยุด
เป็นการขัดจังหวะหรือหยุดการแข่งขันหรือยกนั้นเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดประกาศเขาก็จะทำท่ามือสับลงตรงกลาง
ความเห็นของกรรมการผู้ชี้ขาด
หลังจากเรียก YAME และใช้ท่าที่ระบุกรรมการผู้ชี้ขากจะงอแขนข้างที่ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนยืนอยู่
การละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภทที่ 1
กรรมการผู้ชี้ขาดทำมือไขว้กันตรงข้อมือในระดับอก
การละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภทที่ 2
กรรมการผู้ชี้ขาดชี้ไปที่ผู้ที่ละเมิดพฤติกรรมต้องห้าม โดยงอแขนเล็กน้อย
CHUKOKU
กรรมการผู้ชี้ขาดเตือนครั้งแรกของการละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภทที่ 1 หรือ 2 แต่ยังไม่ลงโทษ
การสัมผัสกันมากเกินไป
กรรมการผู้ชี้ขาดบอกกรรมการผู้ช่วยว่ามีการกระทบกันรุนแรง ไปเป็นการละเมิดพฤติกรราต้องห้ามแบบที่ 1
การแสร้งทำ หรือทำอันตรายเกินกว่าเหตุ
กรรมการผู้ชี้ขาดใช้มือทั้งสองข้างแตะหน้าของตนเอง เพื่อบอกละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
IPPON 1 คะแนน
กรรมการผู้ชี้ขาดทำแขนกางแขนออก 45 องศา ไปด้านข้างลำตัวทางด้านของผู้ที่ได้คะแนน
NOKACHI ชนะ
หลังจากสิ้นสุดการแข่งขันหรือรอบการแข่งขัน กรรมการผู้ชี้ขาดกางแขนขึ้น 45 องศา ไปทางด้านของผู้ที่ชนะ พร้อมกับประกาศว่า AKA (OR AO) NO KACHI
ยกเลิกการตัดสินครั้งที่แล้ว
กรรมการผู้ชี้ขาดหันหน้าไปทางผู้แข่งขัน ประกาศ AKA หรือ AO พร้อมไขว้แขนแล้วทำท่าตัดมือลงเอาแขนลงข้างลำตัว เพื่อแสดงว่าการตัดสินที่ผ่านมายกเลิกไป
KEIKOKU- ปรับ 1 คะแนน
กรรมการผู้ชี้ขาดระบุว่าเป็นการละเมิดพฤติกรรมต้องห้าม ประเภทที่ 1 หรือ 2 แล้วชี้นิ้วลง 45 องศาต่ำกว่าระดับไหล่ไปทางผู้ที่ละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามและให้คะแนน IPPON (1 คะแนน) แก่ฝ่ายตรงข้าม
HANSOKU CHUI ปรับ 2 คะแนน
กรรมการผู้ชี้ขาดระบุการละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภทที่ 1 หรือ 2 แล้วชี้นิ้วขนานไปทางผู้ละเมิดพฤติกรรมต้องห้าม และให้คะแนน NIBON (2 คะแนน) แก่ฝ่ายตรงข้าม
HANSOKU ปรับแพ้และตัดสิทธิ์การแข่งขัน
กรรมการผู้ชี้ขาดระบุกระทำผิดประเภท 1 หรือ 2 แล้วชี้นิ้วขึ้น ทำมุม 45 องศา สูงกว่าระดับไหล่ไปในทางด้านของผู้ที่ละเมิด พฤติกรรมต้องห้ามและประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
SHIKKAKU ตัดสิทธิ์การแข่งและให้ออกจากพื้นที่แข่ง
กรรมการผู้ชี้ขาดใช้นิ้วไปที่ผู้ละเมิดกฎทำมุม 45 องศา สูงกว่า ระดับไหล่แล้วชี้เฉียงวาดไปทางด้านหลังของกรรมการผู้ชี้ขาด ประกาศว่า AKA (AO) SHIKKAKU แล้วประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ AO (AKA) NO KACHI
JOGAI ออกนอกพื้นที่การแข่งขัน
กรรมการผู้ชี้ขาดชี้นิ้วไปบริเวณเส้นขอบสนามด้านผู้แข่งที่ละเมิดกฎ
SHUGO เรียกกรรมการตัดสินผู้ช่วย
กรรมการผู้ชี้ขาดเรียกกรรมการผู้ช่วยหลังจบการแข่งขันหรือรอบนั้นหรือเพื่อขอแนะนำว่าควร SHIKKAKU หรือไม่
TORIMASEN ไม่สามารถให้คะแนนเทคนิคได้
กรรมการผู้ชี้ขาดไขว้แขนแล้ววาดแขนเฉียงลงด้านข้างลำตัว หมายถึงเทคนิคในการทำคะแนนไม่สมบูรณ์หรือไม่ตรงตามกฎการให้คะแนน
HIKIWAKE เสมอ
ถ้ามีการตัดสินไม่ได้ในช่วงประกาศ HANTEI กรรมการผู้ชี้ขาดจะไขว้แขนแล้ววาดแขนเฉียงลงข้างลำตัวโดยหงายมือออกด้านหน้า
AIUCHI ผู้แข่งทั้งสองใช้เทคนิคที่ได้คะแนนในเวลาเดียวกัน
ไม่มีใครได้รับคะแนนในครั้งนี้ กรรมการผู้ชี้ขาดจะกำหมัดเข้าหากันบริเวณหน้าอก
เทคนิคถูกกีดขวางหรือผิดเป้าหมาย
กรรมการผู้ชี้ขาดวางมือลงบนแขนอีกข้างเพื่อบอกกรรมการผู้ช่วยว่าเทคนิคนี้ถูกกีดขวาง หรือโดนในจุดที่ไม่ได้คะแนน
AKA (AO) ได้คะแนนก่อน
กรรมการผู้ชี้ขาดบอกกรรมการผู้ช่วยว่า AKA ทำคะแนนได้ก่อน โดยเปิดมือขวาชี้เข้าหามือซ้าย ถ้า AO ได้คะแนนก่อน จะชี้มือซ้ายเข้าหามือขวา
MUBOBI ทำให้ตัวเองเสี่ยงกับอันตราย, ขาดการป้องกัน
กรรมการผู้ชี้ขาดแตะหน้าแล้วหันสันมือออกด้านหน้าแล้วยืดมือเข้าออกตรงด้านหน้า เพื่อบอกกรรมการผู้ช่วยว่าผู้แข่งขันอาจทำให้ตนเองเสี่ยงกับอันตรายได้
หลีกเลี่ยงการต่อสู้
กรรมการผู้ชี้ขาดชี้นิ้วชี้ลงพื้นพร้อมกับหมุนมือเป็นวงกลมเพื่อระบุว่าละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
การทำอันตราย และการโจมตีโดยไม่มีการควบคุม
กรรมการผู้ชี้ขาดกำหมัดผ่านหลังศีรษะเพื่อระบุว่าละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
การโจมรีด้วย ศีรษะ เข่าหรือข้อศอก
กรรมการผู้ชี้ขาดเอามือบริเวณอวัยวะที่ใช้โจมตีเพื่อระบุว่า ละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
พูดหรือยุแหย่ฝ่ายคู่ต่อสู้ และแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ
กรรมการผู้ชี้ขาดวางนิ้วชี้ที่ริมฝีปากเพื่อระบุว่า ละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
เทคนิคผิดพลาด
กรรมการผู้ชี้ขาดกำมือแนบหน้าลำตัว เพื่อบอกกรรมการผู้ช่วยว่าเทคนิคนี้ผิดพลาด หรือโดนไม่ถูกจุดที่ได้คะแนน
ระยะไม่ถูกต้อง (ห่างเกินไป)
กรรมการผู้ชี้ขาดทำมือตั้งฉากฝ่ามือหันเข้าหากันห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อบอกกรรมการผู้ช่วยว่า ระยะของเทคนิคนี้ไม่ถูกต้อง
ระยะไม่ถูกต้อง (ใกล้เกินไป)
กรรมการผู้ชี้ขาดทำมือไขว้กัน ให้หลังมือหันเข้าหากัน ฝ่ามือชี้ไปทางด้านหน้าเพื่อบอกว่าระยะของเทคนิคนี้ไม่ถูกต้อง
พิจารณาใหม่
หลังจากได้บอกเหตุผลกรรมการผู้ชี้ขาดขอให้กรรมการผู้ช่วย พิจารณาความเห็นใหม่
KIKEN การประกาศสละสิทธิ์การแข่ง
กรรมการผู้ชี้ขาดชี้นิ้วไปยังเส้นของผู้แข่งขันและประกาศให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้ชนะ
ัสัญญาณธงของกรรมการตัดสิน
IPPON
NIHON
SANBON
FOUL เตือน
โดยธงฝ่ายที่ทำผิดกฎจะถูกโบกวนเป็นวงกลมหลังจากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณการละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 หรือ 2
การละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1
ให้ธงไขว้กันและเหยียดแขนตรง
การละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
กรรมการผู้ช่วยชี้ธง แขนงอ
JOGAI
กรรมการผู้ช่วยยกธงข้างฝ่ายที่ออกนอกบริเวณแล้วแตะบริเวณพื้นสนาม
KEIKIKU
HANSOKU CHUI
HANSOKU
TORIMASEN
AIUCHI
ธงจะถูกยกเคลื่อนเข้าหากันบริเวณหน้าอก
MIENAI
ธงจะถูกยกขึ้นด้านหน้า
แนวทางการปฏิบัติงานสำหรับกรมการผู้ช่วยและกรรมการผู้ชี้ขาด
ภาคผนวกนี้มีเพื่อช่วยเหลือกรรมการผู้ช่วยและกรรมการผู้ชี้ขาด ในกรณีที่กติกาหรือคำอธิบายเพิ่มเติมไม่ชัดเจน
การสัมผัสเกินกว่าเหตุ
เมื่อผู้แข่งขันใช้เทคนิคทำคะแนน แล้วตามด้วยเทคนิคที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ คณะกรรมการจะไม่ให้คะแนนและเตือนหรือปรับโทษละเมิดพฤติกรรมประเภท 1 (แม้ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม)
การแกล้งทำว่าถูกสัมผัสเกินกว่าเหตุและเกินความจริง
เมื่อผู้แข่งขันแกล้งทำว่า ได้รับการสัมผัสรุนแรงเกินจริง แล้วคณะกรรมการเห็นว่า เทคนิคการทำคะแนนนั้นควบคุมและเป็นไปตามกฎการทำคะแนน กรรมการจะให้คะแนนแก่ฝ่ายเข้าทำและเตือนหรือปรับโทษละเมิดพฤติกรรมประเภท 2 แก่ฝ่ายเสแสร้ง ในกรณีที่เสแสร้งเกินกว่าเหตุมากเกินไป อาจถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน (SHIKKAKU)
MUBOI
การเตือนหรือการปรับโทษเมื่อผู้แข่งขันถูกทำให้บาดเจ็บเพราะขาดการป้องกันตนเองเช่น หันหลังให้คู่ต่อสู้ โจมตีในระยะใกล้ ต่อยบริเวณท้องโดยไม่ป้องกันหน้าของตนเอง หยุดต่อสู้ก่อนกรรมการสั่ง YAME ทิ้งการ์ด ตั้งใจกระทำความผิดซ้ำ หรือไม่ป้องกันตนเอง
คำอธิบายเพิ่มเติม
หากผู้แข่งขันไม่สามารถป้องกันตนเองได้ แล้วถูกสัมผัสอย่างรุนแรงหรือได้รับบาดเจ็บ จะถูกเตือนหรือปรับโทษละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2 โดยที่ฝ่ายตรงข้ามอาจไม่ได้รับโทษ หากผู้แข่งขันถูกเข้าทำเพราะความผิดของตัวเอง และแกล้งบาดเจ็บเกินจริง เพื่อทำให้กรรมการเข้าใจผิด ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป อาจถูกเตือนหรือปรับโทษ MUBOBI เช่นเดียวกับโทษของการแกล้งบาดเจ็บเกินกว่าเหตุ
หมายเหตุ : การใช้เทคนิคที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ จะไม่ได้คะแนน
ZANSHIN
ZANSHIN คือสภาวะต่อเนื่องจากการโจมตี โดยที่นักกีฬาต้องรักษาระดับสมาธิ การสังเกตคู่ต่อสู้ และการระวังความเป็นไปได้ของการถูกโจมตีกลับจากคู่ต่อสู้ขณะที่ตนเองเข้าทำการจู่โจม เช่น แม้ผู้แข่งขันบางคนจะถอยออกมาหลังจากโจมตีแล้ว แต่สายตายังจับจ้องคู่ต่อสู้ เพื่อพร้อมที่จะแข่งขันต่อไป คณะกรรมการต้องสามารถแยกได้ว่า ผู้แข่งขันอยู่ในสภาวะใด พร้อมจะสู้หรือตั้งใจเลี่ยง เช่น ทิ้งการ์ด ขาดสมาธิ จนทำให้การต่อสู้หยุดชะงัก
การจับการเตะ CHUDAN
คณะกรรมการจะให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันที่สามารถจับขาฝ่ายตรงข้ามที่เตะ CHUDAN ก่อนที่จะชักกลับ เพราะการเตะที่มี ZANSIN เข้าข่ายกฎการให้คะแนน ส่วนในกรณีการต่อย GYAKU TSUKIS แม้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะต่อยเข้าเป้าทั้งคู่ แต่ผู้แข่งขันที่ต่อยไวและชัดกว่า จะได้คะแนนดังนั้น ในการต่อสู้จริง คู่ต่อสู้จะไม่สามารถรับการเตะที่มีพลังได้ การตัดสินว่าเทคนิคจะได้คะแนนหรือไม่ พิจารณาจาการควบคุมเทคนิคที่เหมาะสม เป้า และกฎการให้คะแนน
การทุ่มและการบาดเจ็บ
การจับและทุ่มจะทำได้ต่อเมื่อโค้ชมั่นใจว่า นักกีฬารู้และสามารถใช้เทคนิคได้ถูกต้อง ผู้แข่งขันที่จะใช้เทคนิคการทุ่มต้องทำตามคำอธิบายในข้อ 6 และข้อ 8 หากผู้แข่งขันทุ่มฝ่ายตรงข้ามอย่างถูกวิธี และฝ่ายตรงข้ามล้ามอย่างถูกวิธี แต่ยังบาดเจ็บ แพทย์สนามจะเป็นดูแลอาการบาดเจ็บ ฝ่ายกระทำจะไม่ถูกปรับโทษ อาการบาดเจ็บที่เกิดจากผู้ถูกกระทำเอง เป็นผลมาจากการจับและดึงฝ่ายตรงข้ามมาทับตนเอง แทนที่จะล้มตามเทคนิคที่ถูกต้อง
สภาวะอันตรายเกิดขึ้นเมื่อผู้แข่งขันจับขาฝ่ายตรงข้ามทั้ง 2 ข้างแล้วทุ่มโดยเอาหลังของฝ่ายตรงข้ามลง ในหัวข้อที่ 8 คำอธิบายเพิ่มเติมข้อ 10 ระบุว่า ผู้ทุ่มต้องจับฝ่ายตรงข้ามไว้ตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัยในการล้ม อย่างไรก็ตามการทุ่มในลักษณะนี้ อาจเข้าข่ายละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามได้ เพราะยากที่จะรับประกันความปลอดภัยได้ ทั้งนี้ หากผู้ถูกทุ่มบาดเจ็บ ผู้กระทำจะเข้าข่ายละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 แต่หากผู้ถูกทุ่มไม่บาดเจ็บหรือการทุ่มถูกขัดโดยกรรมการผู้ชี้ขาด ผู้กระทำจะถูกตักเตือนหรือปรับโทษละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2 ตามหัวข้อที่ 8 ประเภท 2 ย่อหน้าที่ 6 อย่างไรก็ตาม การทุ่มในลักษณะนี้ไม่ได้ถูกห้าม แต่ผู้ทุ่มจะถูกลงโทษหรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในการตัดสิน
THREE MIENAIS
หากกรรมการผู้ช่วย 3 ท่านส่งสัญญาณ MIENAI หลังจากกรรมการผู้ชี้ขาดสั่งหยุด กรรมการผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะให้คะแนนหรือปรับโทษ
จากย่อหน้าที่ 3 ของคำอธิบายเพิ่มเติม ในหัวข้อที่ 12 ระบุว่า เมื่อการแข่งขันหยุดลง คะแนนเสียงส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชนะ แต่หากกรรมการผู้ช่วยไม่เห็นการทำคะแนน พวกเขาจะไม่สามารถแสดงความเห็นหรือออกเสียงได้ ดังนั้นกรรมการผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ตัดสิน สถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น เมื่อการทำคะแนนเกิดขึ้นใกล้ขอบสนามข้างกรรมการผู้ชี้ขาดในจุดที่กรรมการผู้ช่วยมองไม่เห็น
TWO AKA ONE MIENAI
หลังจาก YAME กรรมการผู้ช่วย 2 ท่านให้คะแนนแก่ AKA แต่อีกท่านส่งสัญญาณ MIENAI (มองไม่เห็น) กรรมการผู้ชี้ขาดไม่สามารถให้คะแนนแก่ AO ได้
กติการะบุว่า กรรมการผู้ชี้ขาดไม่สามารถขัดความคิดเห็นของกรรมการผู้ช่วย 2 ท่านได้ ถึงแม้ว่า เขาจะเห็นด้วยกับกรรมการผู้ช่วยท่านที่เหลือ เพราะ MIENAI เป็นสัญญาณว่า กรรมการผู้ช่วยไม่เห็นการทำคะแนน จึงไม่ใช่สัญญาณสนับสนุนในทางบวก ดังนั้น กรรมการผู้ชี้ขาดจึงไม่มีเสียงสนับสนุน และต้องขอให้กรรมการผู้ช่วยพิจารณาการตัดสินของพวกเขาว่า เหตุใดจึงมีความเห็นเช่นนี้
ทบทวนข้อพิจารณา
กรรมการผู้ชี้ขาดอาจขอให้กรรมการผู้ช่วยทบทวนการตัดสินใหม่อีกครั้ง เมื่อเขาเห็นว่า กรรมการผู้ช่วยตัดสินผิด หรือละเมิดกติกา อย่างไรก็ตาม การขอนี้สามารถทำได้เพียงครั้งเดียว ถ้าคำขอของกรรมการผู้ชี้ขาดยังไม่มีเสียงสนับสนุนเสียงส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชนะ
ความชัดเจนของสัญญาณ
กรรมการผู้ช่วยควรส่งสัญญาณเดียวใน 1 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน เช่น หากเทคนิคนั้นไม่สามารถให้คะแนนได้ต้องระบุว่า เหตุใดจึงไม่ได้คะแนน เช่น ไขว้ธงไปมา (TORIMASEN) และส่งสัญญาณ เช่น ถูกบล็อค หรือพลาดเป้า เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดขอให้ทบทวนคำตัดสินใหม่อีกครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดโดยไม่จำเป็นและคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง กรรมการผู้ชี้ช่วยทั้ง 3 ท่าน ต้องแสดงความเห็นทันทีที่กรรมการผู้ชี้ขาดสั่งหยุด และกลับเข้าตำแหน่งเดิม
JOGAI
เมื่อผู้แข่งขันออกนอกพื้นที่ (JOGAI) กรรมการผู้ช่วยต้องส่งสัญญาณโดยการชี้ธงลงพื้น ส่วนกรรมการผู้ชี้ขาดต้องสั่งหยุดการแข่งขันและกลับสู่ตำแหน่งเดิม พร้อมประกาศว่า ละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 2
ระเบียบการพิจารณาใหม่สำหรับกรรมการ
เมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดขอให้กรรมการผู้ช่วยทบทวนคำตัดสินอีกครั้ง กรรมการผู้ช่วยต้องปฏิบัติตามคำขอนั้น อย่างไรก็ตามหากเขาไม่เห็นด้วยกับกรรมการผู้ชี้ขาด จะต้องระบุเหตุผล พร้อมกับยืนยันคำตัดสินเดิม
หากกรรมการผู้ช่วยเห็นว่า กรรมการผู้ชี้ขาดอยู่ในตำแหน่งที่เห็นการกระทำได้ดีกว่า เขาอาจเปลี่ยนความคิดเห็นไปสนับสนุนกรรมการผู้ชี้ขาดแทน
ในกรณีที่กรรมการผู้ช่วยเห็นว่า มีการทำคะแนน 2 เทคนิค แต่เห็นเพียงเทคนิคเดียว และมั่นใจว่า ความคิดเห็นถูกต้องเมื่อกรรมการผู้ชี้ขาดขอความเห็น จะส่งสัญญาณ MIENAI แล้วจึงยืนยันความคิดเห็นเดิม
ในกรณีที่กรรมการผู้ช่วยเห็นว่ามีการทำคะแนน 2 เทคนิค แต่เห็นเพียงเทคนิคเดียวที่เข้าเป้า และเชื่อว่า กรรมการผู้ชี้ขาดตัดสินถูก (เนื่องจากกรรมการผู้ช่วยอาจเห็นเพียงท่าทาง แต่ไม่ทราบว่าเข้าเป้าจริงหรือไม่) ดังนั้น กรรมการผู้ช่วยควรส่งสัญญาณ MIENAI และไม่ควรให้คะแนนแก่ฝ่ายใด โดยปล่อยให้หน้าที่ตัดสินเป็นของกรรมการผู้ชี้ขาด
การระบุการละเมิดกติกา
เมื่อผู้แข่งขันละเมิดพฤติกรรมต้องห้ามประเภท 1 กรรมการผู้ช่วยจะหมุนธงสีของฝ่ายผู้กระทำผิด แล้วไขว้ธงยื่นไปทางฝ่ายที่กระทำผิด ยื่นธงสีของผู้กระทำผิดไปข้างหน้า สัญญาณนี้จะช่วยให้กรรมการผู้ชี้ขาดเห็นวา ผู้แข่งขันฝ่ายใดกระทำผิด
สัญลักษณ์คะแนน
SANBON คะแนน 3 คะแนน
NIHON คะแนน 2 คะแนน
IPPON คะแนน 1 คะแนน
KACHI ผู้ชนะ
MAKE ผู้แพ้
HIKIWAKE ผู้เสมอ
C1W - CATEGORY 1 FOUL WARNING การเตือนโดยไม่มีการลงโทษ
C1K - CATEGORY 1 FOUL KEIKOKU ให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
C1HC -CATEGORY 1 FOUL HANSOKU CHUI ให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน
C1H -CATEGORY 1 FOUL HANSOKU ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
C2W - CATEGORY 2 FOUL WARNING การเตือนโดยไม่มีการลงโทษ
C2K - CATEGORY 2 FOUL KEIKOKU ให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน
C2HC - CATEGORY 2 FOUL HANSOKU CHUI ให้คะแนนฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน
C2H - CATEGORY 2 FOUL HANSOKU ถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน
KK - KIKEN การสละสิทธิ์หรือยอมแพ้
S -SHIKKAKU ประพฤติผิดกฎอย่างรุนแรง ให้ตัดสิทธิและให้ออกจากพื้นที่การแข่งขัน