ReadyPlanet.com
dot dot
เทคนิคคุมิเต้

                                           

                        Kumite ( คูมิเต้ ) “ท่าต่อสู้” หรือเรียกกันว่า “Free sparing” เป็นการต่อสู้โดยใช้ท่าต่างๆ เช่นการต่อย, การเตะ, การฟาด, การทุ่มล้มหรือทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก เป็นตัวทำคะแนน การต่อสู้ kumite เป็นการนำสิ่งที่ได้ฝึกฝนมาใช้ไม่ว่าจะเป็น คิฮอง(kihon) ท่าพื้นฐาน หรือกาต้า(kata)ท่ารำ โดยในการฝึกฝนการต่อสู้เบื้องต้นจะเป็นการฝึกฝนในท่าที่มีการกำหนดไว้ (yakute) เพี่อฝึกฝนการตอบโต้กับอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสของร่างกายให้ว่องไวขึ้น เพราะการตัดสินใจในการรุกหรือรับเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในพริบตาก่อนที่จะเป็นการฝึกฝนการต่อสู้ในระดับสูงคือการต่อสู้อิสระหรือจิยูคูมิเต้ jiyu kumite(free sparing)

 

                        ในสมัยก่อน kumite จะเป็นการต่อสู้จริงแบบป้องกันตัว ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและอาจจะรุนแรงถึงชีวิตได้ ซึ่งในยุคแรกที่มีการประลองยุทธ์กันระหว่างสำนักต่างๆ หรือจอมยุทธ์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้หรือเทคนิคซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้ประลองได้รับบาดเจ็บสาหัส พิการ หรืออาจถึงแก่ชีวิต จนปัจจุบันได้มีการพัฒนาปรับมาเป็นกีฬา ได้มีการจัดแข่งขัน การประลองกันขึ้นในกฎ – กติกาและ ข้อห้ามที่เป็นอันตรายและเครื่องป้องกันต่างๆ ขึ้น

                                                                                                                                                        

เทคนิคการจู่โจมของคาราเต้ดั้งเดิมมีความรุนแรงสูงซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือถึงตายได้ ดังนั้นในการแข่ง คาราเต้เพื่อการกีฬา, จึงมีการห้ามนำการจู่โจมซึ่งอันตรายมาใช้ และเทคนิคทั้งหมดจะต้องมีการควบคุมบางส่วน ของร่างกาย ให้สามารถรับแรงกระแทกได้ดีพอสมควร เช่น หน้าท้อง แต่บริเวณ ศีรษะ, ใบหน้า, ลำคอ, ขาหนีบ, และข้อต่อที่ยังอ่อนไหว ฉะนั้นการจู่โจมที่ตั้งใจซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บอาจถูกปรับโทษ ยกเว้นเกิดขึ้นจาก ผู้ถูกกระทำเอง ผู้แข่งขันต้องจู่โจมด้วยการควบคุมที่ดี และท่าทางที่ดี มิฉะนั้นอาจถูกปรับโทษได้ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้เข้าแข่งขัน

จึงเป็นที่ทุกคนยอมรับ และเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ จนถึงระดับโลก และได้นำเข้าสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ อาทิ sea games , asian games และกำลังเข้าสู่ olympic games ในอนาคต

                        โดยได้มีการกำหนดให้ผู้แข่งขันสามารถโจมตีส่วนต่าง ๆ ของคู่ต่อสู้ได้เฉพาะบริเวณดังต่อไปนี้ คือ  

ศรีษะ, หน้า, คอ, ท้อง, อก, หลัง, ข้างลำตัว

 

 

การให้คะแนนสามารถให้ได้ตามระดับต่อไปนี้ :

SANBON (ซันบอน)      3      คะแนน
          NIHON    (นิฮอง)        2      คะแนน
         
IPPON    (อิปโป้ง)       1      คะแนน

 

      1. การให้คะแนน SANBON เกิดจากการที่นักกีฬา

เตะสูง หรือ  (JODAN KICK) บริเวณใบหน้า , ศีรษะ

กวาดขา หรือเหวี่ยงคู่ต่อสู้ล้มลง และตามด้วยการจู่โจมที่บริเวณใบหน้า,

ศีรษะหรือระดับลำตัว ด้วยการต่อย,การเตะในเวลาประมาณ 2-3 วินาที หลังจากการทุ่มหรือโยน

                                                                                                                           

     2. การให้คะแนน NIHON เกิดจากการที่นักกีฬา

การเตะระดับลำตัว (CHUDAN KICKS)

ชกด้านหลังของคู่ต่อสู้

ใช้เทคนิคการต่อสู้ด้วยมือเป็นชุดซึ่งแต่ละเทคนิคสามารถทำคะแนนได้

ทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก แล้วจึงทำตามด้วยการจู่โจมที่บริเวณใบหน้า, ศีรษะหรือระดับลำตัว ด้วยการต่อย, การเตะ

 

     3. การให้คะแนน IPPON เกิดจากการที่นักกีฬา

ใช้การต่อยระดับลำตัว(CHUDAN punch) หรือระดับสูง( JODAN punch)

ใช้หลังมือ (UCHI) ฟาดตามด้วยการจู่โจมที่บริเวณใบหน้า, ศีรษะ

 

ลักษณะการทำคะแนนที่ถูกต้อง เมื่อการจู่โจมนั้นมีคุณสมบัติ ดังนี้

         I.  การจู่โจมด้วยท่าทางที่ดี (Good Form) หมายถึง การจู่โจมที่มีลักษณะตรง  ตามบรรทัดฐานของคาราเต้ดั้งเดิม(ท่าพื้นฐานของคาราเต้)

         II. ทัศนคติทางกีฬา (Sport Attitude) หมายถึง การจู่โจมด้วยท่าทางที่ดี และไม่มีความตั้งใจที่ จะปองร้ายหรือมุ่งร้าย ต่อคู่ต่อสู้ในขณะที่ใช้เทคนิคจู่โจมทำคะแนน

 

       III. การใช้พลังและความเร็ว (Vigorous Application) หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงพลังและความเร็ว ในการใช้เทคนิคจู่โจมและแสดงความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นที่ต้องการให้การจู่โจมสำเร็จ ด้วยพลังที่สูงสุดและเร็วที่สุด ณ ช่วงเวลานั้น

 

      IV. การระวังการจู่โจมกลับ Awareness (Zanshin) เป็นบรรทัดฐานหนึ่งที่ไม่ค่อย ได้นำมาประกอบการให้คะแนน ซึ่งจะเป็นสภาวะต่อเนื่องจากการโจมตี โดยที่นักกีฬาต้องรักษาระดับสมาธิ, การสังเกตคู่ต่อสู้, และการระวัง ความเป็นไปได้ของการถูกโจมตีกลับจากคู่ต่อสู้ขณะที่ตนเองเข้าทำการจู่โจม เช่น ไม่หันหน้าหนีจากคู่ต่อสู้ ขณะที่ทำการจู่โจมคู่ต่อสู้

 

      V.   จังหวะการจู่โจม (Good Timing) หมายถึง ได้ทำการจู่โจมคู่ต่อสู้ ณ ช่วงเวลาที่มีโอกาสมากที่สุด หรือเป็นจังหวะที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้น 

 

  VI.   ระยะการจู่โจม (Correct Distance) หมายถึง การจู่โจมคู่ต่อสู้ในระยะที่เหมาะสม ทำให้การจู่โจม มีประสิทธิผลสูงสุด หากทำการจู่โจมขณะคู่ต่อสู้กำลังถอยหลังอย่างเร็วนั้น ผลการจู่โจมก็จะลดลง

 

    VII.   ระยะหยุด (Distancing) หมายถึง เมื่อสิ้นสุดการจู่โจมอวัยวะที่ใช้ในการจู่โจม เช่นการเตะหรือชกใบหน้า ควรหยุดลงเมื่อสัมผัสผิวเป้าหมาย หรืออาจมีระยะห่างประมาณ 2-3 เซนติเมตรจากเป้าหมายแต่หากเป็น การต่อยแบบ(Jodan Punch) หรือต่อยที่ใบหน้า ซึ่งมีระยะการหยุดที่เหมาะสมและคู่ต่อสู้ไม่ได้แสดงถึงความพยายามที่จะปัด หรือหยุด หรือหลบหลีกใดๆ ทั้งนี้การจู่โจมต้องได้มาตรฐานการจู่โจมในข้ออื่นด้วย


 

                                                           







dot
นานาสาระ
dot
bulletเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
bulletภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการฝึก
bulletเทคนิคคุมิเต้
bulletวิธีการผับชุด
dot
การฝึกซ้อมที่คิดส์ยิม
dot
bulletตารางการฝึกซ้อม
bulletวิธีการสมัคร
dot
My Karate
dot
bulletKata
bulletKihon
bulletMovement
bulletWarming Up
bulletStrengthing
dot
กฎ กติกา
dot
bulletประเภทต่อสู้ (Kumite)
bulletประเภทท่ารำ(Kata)
dot
กิจกรรมที่ผ่านมา
dot
bulletเข้าค่ายนครปฐม ปี 2549
bulletเข้าค่ายกาญจนบุรี ปี 2550
dot
Link เครือข่าย
dot
bulletการกีฬาแห่งประเทศไทย
bulletสมาคมคาราเต้ โด
bulletMylife-Mykarate
bulletShotokan
bulletNinjutsu-thailand
bulletThaikarate-School
bulletThai Gojukai
bulletKarate hadyai
bulletthaikaratedo
bulletBangkokfight club
bulletGlobal Martialarts Center (GMAC)
dot
Karate Club in University
dot
bulletมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
bulletมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
bulletพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
bulletมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
bulletม.นเรศวร
dot
Link ต่างประเทศ
dot
bulletWKF
bulletAKF
bulletJKF
bulletIKGA
bulletJKA
dot
แบบฟอร์สมาคมกีฬาจังหวัด
dot
bulletใบสมัครขึ้นทะเบียนนักกีฬาสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
bulletแบบคำขอย้ายสังกัดสมาคมกีฬาจังหวัด
bulletระเบียบการกีฬาแห่งประเทศไทย
dot
Newsletter

dot
bulletFAQ (Frequently Asked Questions)




Copyright © 2010 All Rights Reserved.